หน้าแรกสำนักวิชาการ  |  หน้าแรกมสธ.

 

ยินดีต้อนรับ
มาตรฐานที่ 5 ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร
ตัวบ่งชี้ที่ 5.5
ระดับคุณภาพของคณะกรรมการประจำสาขาวิชา/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์
 
-
ค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้ : 1.82
 
-
ค่าเป้าหมายของแผนสถาบัน : 3 ข้อ
 
-
เกณฑ์มาตรฐาน
1.
กรรมการเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการดำเนินงาน/แผนปฏิบัติการประจำปี
2.
คณะกรรมการมีส่วนร่วม ในการกำหนดและให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์/
แผนปฏิบัติการประจำปี และให้ข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ
3.
คณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงานที่สำคัญตามภารกิจหลักของหน่วยงาน|
อย่างครบถ้วน มากกว่าปีละ 2 ครั้ง
4.
มีการประชุมคณะกรรมการอย่างต่ำร้อยละ 80 ของแผน
5.
มีกรรมการเข้าประชุมโดยเฉลี่ยอย่างต่ำร้อยละ 80
6.
มีการส่งเอกสารให้กรรมการก่อนประชุมโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 7 วัน
7.
มีการประเมินผลงานของผู้บริหารสูงสุดโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและ
ตกลงกันไว้ล่วงหน้า
 
-
เกณฑ์การให้คะแนนอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของตัวบ่งชี้

1 คะแนน
2 คะแนน
3 คะแนน
มีการดำเนินการ
1-3 ข้อแรก
มีการดำเนินการ
4 ข้อแรก
มีการดำเนินการมากกว่า
หรือเท่ากับ 5 ข้อแรก
เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างปีการศึกษา 2546 กับปีการศึกษา 2549

ผลการประเมินตนเอง
ปีการศึกษา 2546
(1 มิ.ย. 2546 - 31 พ.ค. 2547)
ปีงบประมาณ 2548
(1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548)
ปีงบประมาณ 2549
(1 ต.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2549)
3
-
-


ผลการดำเนินงาน


คลิก tab อ่านรายละเอียดผลการดำเนินงาน


ปีการศึกษา 2546 (1 มิ.ย.2546-31 พ.ค.2547)
  คณะกรรมการประจำสำนักเป็นกลไกในการบริหารจัดการงานของสำนักวิชาการ กำหนดให้มีการประชุม
ทุกวันพุธที่สามของเดือน สำหรับผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2546 มีการประชุม จำนวน 2 ครั้งและเวียน
เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการฯ จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งนับว่ามีการประชุมน้อย
  ข้อเสนอแนะจากคณะผู้ประเมินเมื่อวันที่ 7-9 ธันวาคม 2547 เสนอให้ปรับองค์ประกอบคณะกรรมการฯ
ให้เล็กลงเพื่อจะได้มีการประชุมบ่อยขึ้น
  ประกอบกับการบริหารงานในเรื่องต่าง ๆ ของฝ่ายจะมีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ บริหารงานโดยตรง
ซึ่งแตกต่างจากสำนักอื่น จึงไม่ต้องนำเรื่องเสนอคณะกรรมการประจำสำนักวิชาการพิจารณา กล่าวคือ
   
-
คณะกรรมการส่งเสริมการแต่งตำรา
   
-
คณะกรรมการจัดทำวารสารสุโขทัยธรรมาธิราช
   
-
คณะกรรมการบริหารกองทุน มสธ.12 ปี
   
-
คณะกรรมการกิจกรรมทางวิชาการเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 29 ปี
   
-
คณะกรรมการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย
   
-
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการใช้ภาษาอังกฤษ
   
-
คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
สาขาวิชาศิลปศาสตร์
   
-
คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
   
-
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงวิชาการตลาด
   
-
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
วิชาเอกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (4 ปี) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงวิชาบริหารธุรกิจ
วิชาเอกการจัดการอุตสาหกรรม (4 ปี)
   
-
คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาทฤษฎีและเทคนิคทางรัฐศาสตร์
   
-
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตรัฐศาสตร์ แขนงวิชาการเมืองการปกครอง
   
-
คณะกรรมการดำเนินงานการจัดอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ
ปีงบประมาณ 2550 (1 ต.ค.2549-30 ก.ย.2550)
  สำนักวิชาการยังคงกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิชาการทุกวันพุธที่สามของเดือน
เนื่องจากปัจจุบันสำนักวิชาการมีการบริหารงานในลักษณะคณะทำงาน/คณะกรรมการ โดยมีการประชุมต่าง ๆ
ของแต่ละฝ่ายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยเฉพาะคณะกรรมการบริหารสำนักวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ หัวหน้าฝ่ายทุกฝ่าย เลขานุการสำนักวิชาการ และผู้แทนหัวหน้างานเลขานุการกิจสาขาวิชา
กำหนดให้มีการประชุมเดือนละหนึ่งครั้ง มีหน้าที่พิจารณาและกำหนดแผนงานที่มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์/
นโยบายของมหาวิทยาลัย วางแผน มอบหมายตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานภายใน
กำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานภายในสำนักวิชาการ พิจารณากลั่นกรองเพื่อมอบหมายหรือมีมติให้
การดำเนินงานของสำนักวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โครงสร้างของคณะทำงาน/
คณะกรรมการบางชุดมีองค์ประกอบเดียวกับคณะกรรมการประจำสำนัก ทำให้การประชุมคณะกรรมการ
ประจำสำนักลดน้อยลง แต่สำนักวิชาการก็ยังคงเวียนขออนุมัติต่อคณะกรรมการประจำสำนักวิชาการทุกครั้ง
ที่ไม่มีการประชุม ในปีงบประมาณนี้มีการจัดประชุมคณะกรรมการฯ จำนวน 2 ครั้ง และเวียน
เพื่อทราบและขออนุมัติ จำนวน 8 ครั้ง
ผลการประเมิน
ี้ ผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของตัวบ่งชี้
1
คะแนน
  ผลการประเมินอิงพัฒนาการ
คะแนน
  ผลการประเมินการบรรลุผลตามเป้าหมายของแผนสถาบัน
คะแนน
ผลการประเมินตนเอง
1
คะแนน
(คะแนนการประเมินตนเองอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของตัวบ่งชี้+พัฒนาการ+บรรลุเป้าหมาย)

จัดทำโดย
สำนักวิชาการ และ คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537