|
ตัวบ่งชี้ที่ 5.7 มีการนําระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหาร
เป็นตัวบ่งชี้ใหม่ที่กำหนดขึ้นในปีงบประมาณ 2550 |
จึงไม่มีผลการประเมินตนเองที่ผ่านมามาเปรียบเทียบพัฒนาการของตัวบ่งชี้ที่
5.7 |
|
สำนักวิชาการใช้ระบบการควบคุมภายในช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากระหว่าง |
เวลาดังกล่าว มหาวิทยาลัยไม่มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้
แต่มีระบบการควบคุมภายในที่นำมาใช้ ได้แก |
่
|
1) |
การกำหนดผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการใช้จ่ายงบประมาณและมีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง
ด้วยระบบสารสนเทศ |
|
2) |
การจัดซื้อ/จัดจ้าง/จัดซ่อม เนื่องจากเป็นการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูงสำนักวิชาการจึงได้จัดระบบการดำเนินงาน
ให้รัดกุมและมีการสอบทานผลการดำเนินการทั้งในกระบวนการจัดซื้อ/จัดจ้าง/จัดซ่อมและการตรวจรับ
กล่าวคือ
ได้ตั้งในรูปคณะกรรมการ มีประธาน 1 คน กรรมการ 1 คน และ กรรมการและเลขานุการ
1 คน (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ.2535 ข้อ 35 วรรคท้าย การจัดซื้อ/จ้าง
วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ให้แต่งตั้งข้าราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างประจำ
1 คน ซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อ
หรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างก็ได้) |
|
3) |
มีการเวียนมติการประชุม/กฎ/เกณฑ์/ข้อบังคับ/ระเบียบที่เกี่ยวข้องให้บุคลากรภายในสำนักทราบโดยทั่วกัน |
|
4) |
มีการควบคุมภายในที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง
โดยวิเคราะห์ความเสี่ยง กำหนดวิธีการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข
และรายงานความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้มหาวิทยาลัยรับทราบเป็นประจำทุกปี |
|
ในปีงบประมาณ 2550 สำนักวิชาการจัดทำประกาศแต่งตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการเพื่อรับผิดชอบและดำเนินการ |
วางระบบ การบริหารความเสี่ยงตามแบบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน |