หน้าแรกสำนักวิชาการ  |  หน้าแรกมสธ.

 

ยินดีต้อนรับ
ผลการประเมินองค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1
มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (สกอ. 2.1)
  เกณฑ์มาตรฐาน
ปิดเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมดl | เปิดเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด
  1. มีระบบและกลไกการเปิดและปิดหลักสูตร
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี ระบบและกลไกการเปิดและปิดหลักสูตร โดยมหาวิทยาลัยมีขั้นตอน
การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเปิดสอน ดังนี้
 
1.
ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดสอนหลักสูตร
 
2.
เสนอหลักสูตรเข้าแผนพัฒนาวิชาการ และ/หรือแผนปฏิบัติราชการ
  ประจำปี
 
3.
แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรซึ่งประกอบด้วย
 
คณาจารย์ภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
 
4.
เสนอหลักสูตรต่อคณะกรรมการประจำสาขาวิชาและ/หรือ
    คณะกรรมการที่ปรึกษาประจำสาขาวิชาเพื่อพิจารณากลั่นกรอง
 
5.
เสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการและสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา
    ให้ความเห็นชอบ/อนุมัติ (สำนักวิชาการทำหน้าที่ตรวจหลักสูตร
    ก่อนนำเสนอสภาวิชาการ เพื่อให้หลักสูตรมีมาตรฐาน
มีหัวข้อ และรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่
    กระทรวงศึกษาธิการ และ สกอ. กำหนด)
 
6.
เสนอหลักสูตรต่อ สกอ. เพื่อพิจารณารับทราบการให้ความเห็นชอบ
    ภายใน 30 วัน
  ทั้งนี้ หลักสูตรที่จะเปิดสอนต้องสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ
ของกระทรวงศึกษาธิการและสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
และได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย และแจ้ง สกอ. ทราบก่อนเปิดสอน
การปิดหลักสูตร
  มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการยุบรวม
และปิดหลักสูตร โดยมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
    1. จำนวนผู้เรียน
    2. จุดคุ้มทุน
    3. ความสอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดแรงงาน
  โดยมีขั้นตอนการปิดหลักสูตรคือ จะเสนอคณะกรรมการประจำสาขาวิชา
สภาวิชาการและสภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ/อนุมัติ
และแจ้งให้ สกอ. ทราบ ตามลำดับ
สว. 2.1-1(1)
ขั้นตอนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สว. 2.1-1(2)
คำสั่ง มสธ.ที่2980/2548 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2548
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการยุบรวมและ
ปิดหลักสูตรของ มสธ.
สว. 2.1-1(3)
มติสภาวิชาการครั้งที่ 26/2545 วันที่ 18 กรกฎาคม 2545
และมติคณะกรรมการประจำสำนักวิชาการครั้งที่ 2/2548
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์
การปิดหลักสูตร
  2. มีการกําหนดเป้าหมายการผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตรในแผนการผลิตบัณฑิต
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
ี การกําหนดเป้าหมายการผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตรในแผนการผลิตบัณฑิต ดังนี้
 
1.
สาขาวิชาต่างๆ จะกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
  การผลิตบัณฑิตไว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และเป้าหมาย
การผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตร
 
2.
มีการจัดทำประมาณการนักศึกษาใหม่ นักศึกษาเก่าและ
    ผู้สำเร็จการศึกษาทุกหลักสูตร ระบุไว้ในแผนปฏิบัติราชการ
    ประจำปีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สว. 2.1-2(1)
วัตถุประสงค์และเป้าหมายการ ผลิตบัณฑิตที่ระบุไว้ในเอกสาร
  หลักสูตรของสาขาวิชา
สว. 2.1-2(2)
แผนปฏิบัติราชการประจำปีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของสาขาวิชา
  3. มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดหลักสูตรใหม่และการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทุกเรื่อง
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี การเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดหลักสูตรใหม่และการปรับปรุงหลักสูตร
ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร โดยสาขาวิชาที่จะเปิดสอนหลักสูตรใหม่
หรือหลักสูตรปรับปรุงจะต้องเสนอแผนการดำเนินงานที่แสดงความพร้อม ดังนี้
 
1.
แผนการผลิตชุดวิชาที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตร
 
2.
ผู้รับผิดชอบในการผลิตแต่ละชุดวิชาทั้งโครงสร้างหลักสูตร
 
3.
ภาระหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในแต่ละชุดวิชา รวมทั้งภาระงานอื่นๆ
    ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
 
4.
ทรัพยากรที่ต้องใช้
  นอกจากนี้ยังต้องเตรียมความพร้อมด้านอาจารย์ประจำหลักสูตรด้วย
สว. 2.1-3(1)
ประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง หลักเกณฑ์
ในการเปิดสอนหลักสูตรใหม่และหลักสูตรปรับปรุง
( ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2547 )
4. มีการวิเคราะห์ข้อมูลการดําเนินการทุกหลักสูตรประจําปีการศึกษา เช่น ร้อยละของหลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
ร้อยละของบทความจากวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี และร้อยละ
ของบัณฑิตที่ทํางานตรงสาขา เป็นต้น
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี การวิเคราะห์ข้อมูลการดําเนินการทุกหลักสูตรประจําปีการศึกษา ดังนี้
 
1.
ในปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่เป็นไปตามเกณฑ์
    มาตรฐานจำนวน 20 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 27.397
 
2.
มีบทความวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่คิดเป็น ร้อยละ 25.95
 
(ตามที่ระบุในตัวบ่งชี้ที่ 2.12.2)
 
3.
มีบัณฑิตที่ได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
 
คิดเป็นร้อยละ 21.33 (ตามที่ระบุในตัวบ่งชี้ที่ 2.9) และ/หรือ
 
มีบัณฑิตที่ทํางานตรงสาขา คิดเป็นร้อยละ 86.89
    (ตามที่ระบุในตัวบ่งชี้ที่ 2.12.6)
สว. 2.1-4(1)
อ้างถึงตัวบ่งชี้ที่ 2.12.3 ร้อยละของหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
ต่อหลักสูตรทั้งหมด
สว. 2.1-4(2)
อ้างถึงตัวบ่งชี้ที่ 2.12.2 ร้อยละของบทความจากวิทยานิพนธ์
ปริญญาโทที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทั้งหมด
สว. 2.1-4(3)
อ้างถึงตัวบ่งชี้ที่ 2.9 ร้อยละของบัณฑิต ระดับปริญญาตรี
  ที่ได้งานทำ และประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
สว. 2.1-4(4)
อ้างถึงตัวบ่งชี้ที่ 2.12.6 ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำตรงสาขา
  ที่สำเร็จการศึกษา
5. มีการนําผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดําเนินการหลักสูตร ประจําปีการศึกษาไปปรับปรุงหลักสูตรและ/หรือปรับปรุง
ระบบและกลไกการบริหารหลักสูตร
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี การนําผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดําเนินการหลักสูตรประจําปีการศึกษา
ไปปรับปรุงหลักสูตรและ/หรือปรับปรุงระบบและกลไกการบริหารหลักสูตร
ดังนี้
1.
สาขาวิชาจะนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละของหลักสูตรที่ได้
  มาตรฐานต่อหลักสูตรทั้งหมดไปดำเนินการเร่งรัดปรับปรุงหลักสูตร
    ที่ยังไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
    พ.ศ.2548ให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 โดยในปีการศึกษา 2552
    มีการปรับปรุงหลักสูตรแล้วเสร็จและเสนอสภามหาวิทยาลัย
    รวมทั้งสิ้น 27 หลักสูตร นอกจากนี้ยังมีการศึกษาแนวทางการปรับ
หลักสูตรต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
    อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2555
    ทั้งนี้ เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยเป็นไปตามเกณฑ์ที่ สกอ.
    และกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
 
2.
มหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงระบบและกลไกการบริหารหลักสูตร
โดย
    1) มีการกำหนดองค์ประกอบและภาระหน้าที่ของคณะกรรมการ
      บริหารหลักสูตร
    2) กำหนดเป็นเป้าหมายในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี
ของสาขาวิชา
    3) จัดทำแผนการปรับปรุงหลักสูตร ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
      ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
    4) มีการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับ
      หลักสูตรทุก 6 เดือน ต่อผู้บริหาร/ประชาสัมพันธ์ทาง Intranet
ของสำนักวิชาการ
สว. 2.1-5(1)
สรุปจำนวนหลักสูตรปรับปรุงแล้วเสร็จ ที่นำเสนอสภามหาวิทยาลัย
อนุมัติในปีการศึกษา 2552
สว. 2.1-5(2)
ประกาศ มสธ. เรื่อง แนวปฏิบัติการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
และคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
สว. 2.1-5(3)
อ้างถึงตัวอย่างเอกสารคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี
ของสาขาวิชา
สว. 2.1-5(4)
แผนการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
สว. 2.1-5(5)
เอกสารที่เกี่ยวกับการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการ
เกี่ยวกับหลักสูตรต่อ ผู้บริหาร/ประชาสัมพันธ์ทาง Intranet
ของสำนักวิชาการ
6. หลักสูตรที่เปิดสอนทุกหลักสูตรได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานทุกเรื่อง และมีการประกันคุณภาพหลักสูตรครบทุกประเด็น
ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
1.
หลักสูตรที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดสอนทุกหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรของ
สภามหาวิทยาลัยแล้ว
2.
หลักสูตรที่เปิดสอนทุกหลักสูตรมีการประกันคุณภาพหลักสูตรครบ
  ทุกประเด็นตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร โดยสำนักวิชาการ
  ได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและดัชนี
  บ่งชี้มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลกลาง
  ของมหาวิทยาลัยให้ทุกหลักสูตรพิจารณานำไปปรับให้เหมาะสม
  กับหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ
สว. 2.1-6(1)
ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและดัชนีบ่งชี้
มาตรฐานและคุณภาพการศึกษาฉบับที่คณะกรรมการ
ประจำสำนักวิชาการรับทราบแล้ว
สว. 2.1-6(2)
ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและดัชนีบ่งชี้
  มาตรฐานและคุณภาพการศึกษาที่ระบุในหลักสูตรฉบับ
  เสนอ สกอ. ของสาขาวิชา
  7. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัย (ปริญญาโท เฉพาะ แผน ก และปริญญาเอก) ที่เปิดสอนมีจํานวนมากกว่าร้อยละ 50
ของจํานวนหลักสูตรทั้งหมด
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัย ดังนี้
 
1.
หลักสูตรระดับปริญญาโทที่เปิดสอนมีจำนวน 21 หลักสูตร
    เป็นหลักสูตร แผน ก จำนวน 19 หลักสูตร
2.
หลักสูตรระดับปริญญาเอกที่เปิดสอน มีจำนวน 3 หลักสูตร
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นหลักสูตรที่เน้นการวิจัยจึงคิดเป็นร้อยละ 91.67
ของจำนวนหลักสูตรทั้งหมด
สว. 2.1-7(1)
ระเบียบการรับสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา(เฉพาะข้อมูลแนะนำสาขาวิชาที่เปิดสอน)
สว. 2.1-7(2)
สรุปจำนวนหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2552
  หมายเหตุ การดำเนินงานในข้อ 2-7 ไม่ได้เป็นภารกิจของสำนักวิชาการโดยตรง
  คะแนนการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้
 
1 คะแนน
2 คะแนน
3 คะแนน
มีการดำเนินการ
ไม่ครบ 5 ข้อแรก
มีการดำเนินการ
5 ข้อแรก
มีการดำเนินการ
ครบ 6 ข้อแรก
  ผลการประเมิน
 
ปีการศึกษา 2552
การบรรลุ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมิน
อิงเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้
ผลจากการประเมิน
ตนเอง
ผลจากการประเมิน
ของคณะผู้ประเมิน
ค่าเป้าหมาย
ครบ 6 ข้อแรก
3
2
ผลการดำเนินงาน
ครบทุกข้อ

หมายเหตุ คณะผู้ประเมินพิจารณาผลลัพธ์การดำเนินการเฉพาะ 5 ข้อแรก
* การบรรลุเป้าหมาย
= บรรลุเป้าหมาย
= ไม่บรรลุเป้าหมาย

จัดทำโดย
สำนักวิชาการ และ คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537