สำนักทะเบียนและวัดผล มสธ.
คำถามถามบ่อย
คำถามถามบ่อยในการเรียนระดับปริญญาตรีกับ มสธ.
นักศึกษาจะต้องสมัครเป็นนักศึกษาใหม่  โดยดำเนินการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่ทุกประการและจะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาใหม่ แม้ว่าชุดวิชานั้นนักศึกษาจะเคยลงทะเบียนเรียนมาแล้วในสถานภาพนักศึกษาก่อน ๆ ก็ตาม
สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. ให้ติดต่อสถานศึกษาเดิมเพื่อให้ออกหลักฐานการสำเร็จการศึกษาให้ใหม่ หรือ
2. กรณีที่ไม่สามารถติดต่อสถานการศึกษาเดิมได้  ขอให้ติดต่อขอสำเนาวุฒิการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง

ระเบียบการสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2565 ผู้สมัครสามารถศึกษารายละเอียดและ DOWNLOAD ได้ฟรีที่เว็บไวต์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (www.stou.ac.th/main/apply.html) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ให้นำวุฒิการศึกษาไปเทียบวุฒิการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แล้วส่งใบเทียบวุฒิการศึกษาไปยังมหาวิทยาลัยพร้อมเอกสารการสมัคร
  1. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่านักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 ชุดวิชาจะตัดชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนออกบางชุดวิชาเพื่อให้พอกับจำนวนเงินที่ส่งมาและแจ้งให้นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาที่ตัดออกพร้อมชำระเงินเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
  2. กรณีนักศึกษาสมัครและลงทะเบียนเรียนเพียง 1 ชุดวิชาจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาชำระ  ค่าลงทะเบียนเพิ่มเติมให้ครบถ้วนจึงจะรับเป็นนักศึกษา
  1. มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ให้นักศึกษาทราบภายใน 15 วัน  นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารการสมัครครบถ้วน สมบูรณ์ และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครว่าถูกต้องแล้ว
  2. จะจัดส่งใบตอบรับการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ พร้อมบัตรประจำตัวนักศึกษา คู่มือนักศึกษา โครงสร้างและรายละเอียดของหลักสูตรที่ต้องศึกษาให้ทางไปรษณีย์ สำหรับวัสดุการศึกษาจะทยอยจัดส่งให้ภายหลังต่อไป
  3. ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ได้ที่เว็บไซต์ มสธ www.stou.ac.th  หัวข้อ  หัวข้อบริการนักศึกษา  เลือกนักศึกษาปริญญาตรี หัวข้อระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษาและงานบริการการศึกษา  คลิกที่ สอบถามการสมัครเป็นนักศึกษา/ผู้เรียน
    หมายเหตุ หากข้อมูลที่นักศึกษาได้รับไม่ตรงกับข้อมูลที่นักศึกษาแจ้งไว้ในใบสมัคร  ขอให้นักศึกษาแจ้งแก้ไขข้อมูลไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลทันที
นักศึกษาสามารถตรวจสอบการตอบรับการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาและการจัดส่งบัตรประจำตัวนักศึกษาได้จาก website ของมหาวิทยาลัย หรือแจ้งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล  เพื่อทำการตรวจสอบ
  1. ผู้สมัครจะต้องขออนุญาตจากกรมราชทัณฑ์
  2. ส่งใบอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์ และแบบกรอกข้อมูลสำหรับผู้สมัครทีเป็นผู้ต้องขังไปพร้อมกับเอกสารการสมัครตามขั้นตอนการสมัครเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่โดยทั่วไป

มหาวิทยาลัยได้จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างประเทศไว้  2  รูปแบบคือ

รูปแบบที่ 1 ดำเนินการรับสมัคร รับลงทะเบียนเรียน และจัดสอบ สำหรับคนไทยในต่างประเทศ เฉพาะประเทศสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เมืองฮ่องกง ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ค่าลงทะเบียนเรียนเก็บในอัตราเหมาจ่าย (รวมค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าบำรุงการศึกษา ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา และค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ)

ค่าลงทะเบียนเรียนครั้งแรก ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ค่าลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาต่อไป ค่าลงทะเบียนสอบซ่อมต่อครั้ง
1 ชุดวิชา 5,600 บาท 1 ชุดวิชา 5,000 บาท 1,500 บาท
2 ชุดวิชา 6,600 บาท
2 ชุดวิชา 6,000 บาท  
3 ชุดวิชา 7,600 บาท 3 ชุดวิชา 7,000 บาท  

 โดยนักศึกษาสามารถชำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านศูนย์บริการการศึกษาของ มสธ. ในต่างประเทศ ได้แก่

- สำนักงานแรงงานไทยในประเทศสิงคโปร์                           ประเทศสิงคโปร์  
- สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน             ประเทศบรูไน
- สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์                    ประเทศมาเลเซีย
- สำนักงานแรงงานไทย ณ เมืองฮ่องกง                               ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) กรุงไทเป        ประเทศไต้หวัน
- สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ  กรุงริยาด                             ประเทศซาอุดิอาระเบีย
- สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ                                         ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

รูปแบบที่ 2 จัดสอบอย่างเดียว สำหรับคนไทยในต่างประเทศ นอกเหนือ รูปแบบที่ 1

  1. ผู้สมัครสามารถสมัครโดยใช้ที่อยู่ในประเทศไทย ชำระค่าลงทะเบียนเรียนในอัตราเดียวกับผู้สมัครในประเทศ มหาวิทยาลัยจะจัดส่งเอกสารการสอนและเอกสารอื่น ๆ ให้ตามที่อยู่ในประเทศไทย ผู้สมัครต้องมีญาติหรือบุคคลที่คอยรับ และจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยส่งให้เพื่อส่งต่อให้กับผู้สมัคร ทั้งนี้ผู้สมัครต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสารเอง
  2. ชำระค่าจัดสอบอัตราเหมาจ่ายจำนวน 6,500 บาท ต่อการจัดสอบแต่ละครั้ง โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขานนทบุรี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 140-0-96697-2 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พร้อมส่งสำเนาใบโอนเงิน ก่อนการสอบ 45 วัน ไปยัง ฝ่ายจัดสอบ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 หรือแจ้งการโอนเงินทาง e-mail address  : ev.reoffice@stou.ac.th  หรือแจ้งทางโทรสารหมายเลข 0 2503 2742 ภายในวันที่ชำระเงินหรือวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการโอนเงินให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้สมัคร
  3. มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้ ณ สถานกงสุลไทย / สถานทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆ ที่มีความพร้อมที่จะจัดสอบให้ได้ หากมีข้อขัดข้องใด ๆเกี่ยวกับสถานที่สอบ มหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบและจะคืนเงินค่าธรรมเนียมในการจัดสอบให้นักศึกษา หรือหากมีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบก่อนการสอบ
มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาใหม่ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง ดังนี้
ภาคต้น แบ่งเป็น 2 ช่วง     ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี
  ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง 1 กันยายน  ของทุกปี
ภาคปลาย                          ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน ถึง 16 กุมภาพันธ์      ของทุกปี

การสมัครเรียนออนไลน์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ผู้สมัครจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกอบการสมัครในลักษณะไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

1.รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ แต่งกายสุภาพ (ไม่สวมเสื้อยืดคอกลม) ฉากหลังของภาพเป็นสีพื้นเท่านั้น แนบเป็นไฟล์ .JPG

2.สำเนาวุฒิการศึกษาฉบับที่ระบุหลักสูตรที่จบการศึกษาและวันจบการศึกษา เช่นใบรับรองสำเร็จการศึกษา หรือใบประกาศนียบัตร หรือใบปริญญาบัตร หรือใบรายงานผลการศึกษา (TRANSCRIPT)

3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างใดอย่างหนึ่ง

4.สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล เช่นใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อ-สกุล ใบแต่งตั้งยศ ใบสำคัญการสมรส เป็นต้น

หมายเหตุ  เอกสารประกอบการสมัครในข้อที่ 2-4 ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ และจัดทำในรูปแบบไฟล์ .PDF

1. สมัครได้ที่เว็บไซต์ มสธ. www.stou.ac.th  เลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนกับมสธ. เลือกคลิกที่หัวข้อระดับปริญญาตรี  และเลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนออนไลน์

2. สมัครได้ที่เว็บไซต์ https://apply.stou.ac.th/course-information/  เลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนออนไลน์

1.ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวนเงิน 1,400 บาท ประกอบด้วย

1.1 ค่าธรรมเนียมแรกเข้า  800 บาท  (ผู้สมัครที่มีอายุครบ 60 ปี ขึ้นไป นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า)

1.2 ค่าบำรุงการศึกษา 500 บาท

1.3 ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษา 100 บาท

2.ค่าชุดวิชาสำหรับนักศึกษาใหม่ในแต่ละชุดวิชาจะมีอัตราเรียกเก็บแตกต่างกัน โปรดอ่านรายละเอียดได้ที่ระเบียบการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่และลงทะเบียนเรียนภาคต้นและภาคปลายของปีการศึกษานั้นๆ

1.ระบบ Pay At Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา

2. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ร้าน 7-ELEVEN ทุกสาขา

3.ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ.10 แห่ง จังหวัดลำปาง  สุโขทัย  อุดรธานี  อุบลราชธานี  นครสวรรค์  จันทบุรี  เพชรบุรี  นครนายก  นครศรีธรรมราช  และยะลา

4. ศูนย์บริการร่วมแบบครบวงจร ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี

สามารถนำใบสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา (มสธ.1) เอกสารการสมัคร และสำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าสมัคร บรรจุลงในซอง ฝากส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ หรือบริษัทขนส่งพัสดุ  โดยจ่าหน้าซองดังนี้

ฝ่ายรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 9/9 หมู่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ  ต.บางพูด  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทุบรี  11120  (วงเล็บมุมซอง สมัครนักศึกษาใหม่)

การโอนชุดวิชาคือ การนำชุดวิชาที่ได้ศึกษาและสอบผ่านในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมาใช้ในหลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษาใหม่ให้แก่ผู้ที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยจะพิจารณาการโอนชุดวิชาให้แก่ผู้ที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาโดยให้โอนชุดวิชาที่นักศึกษาสอบผ่านในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัยทั้งในระดับประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี หรือสัมฤทธิบัตรตามโครงการสัมฤทธิบัตร เข้าสู่ชุดวิชาที่ปรากฎในหลักสูตรระดับปริญญตรีที่เข้าศึกษาใหม่ได้
สามารถขอโอนได้ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี  พ.ศ. 2547  โดยสามารถขอโอนชุดวิชาที่สอบผ่านและมีในหลักสูตรใหม่ได้ทุกชุดวิชา
นักศึกษาที่ประสงค์ขอโอนชุดวิชาสามารถขอโอนได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาเป็นต้นไป  และขอโอนได้มากกว่า 1 ครั้ง
  1. เป็นชุดวิชาที่นักศึกษาสอบผ่านในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัย
  2. เป็นชุดวิชาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรที่สมัครใหม่
  1. ยื่นคำร้องขอใบคำร้องโอนชุดวิชา มสธ 19 จากสำนักทะเบียนและวัดผล หรือถ่ายสำเนาแบบฟอร์มจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  Download จาก website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp  โดยผู้ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่จะต้องได้รับการตอบรับขึ้นทะเบียนนักศึกษาและมีเลขประจำตัวนักศึกษาใหม่แล้ว
  2. กรอกรายละเอียดลงในใบคำร้องขอโอนชุดวิชา มสธ 19 แล้วจัดส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการโอนชุดวิชา ชุดวิชาละ 200 บาท และแนบสำเนาใบรายงานผลการศึกษาหรือใบแจ้งผลการสอบไปด้วย
นักศึกษาที่ผ่านชุดวิชาในโครงการสัมฤทธิบัตรขณะที่ศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีสามารถขอโอนชุดวิชาได้ตามระเบียบฯ  ว่าด้วยการโอนชุดวิชา
นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้โอนชุดวิชาจะไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม
  1. นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชาที่สอบผ่านจากสูตรเดิมและมีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตรที่สมัครใหม่ได้ทุกชุดวิชา ส่วนชุดวิชาที่ไม่มีอยู่ในหลักสูตรใหม่ นักศึกษาสามารถขอโอนเป็นชุดวิชาเลือกเสรีในหลักสูตรใหม่ได้เช่นกัน แต่ชุดวิชานั้นจะต้องไม่เป็นชุดวิชาที่มหาวิทยาลัยห้ามใช้เป็นชุดวิชาเลือกเสรีตามประกาศฯ เรื่องเกณฑ์การลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี
  2. หลังจากที่นักศึกษาได้รับอนุมัติการโอนชุดวิชาแล้วระยะเวลาเรียนยังคงเป็น 3 เท่าของหลักสูตรตามปกติ  
ได้ โดยนักศึกษาจะต้องเขียนรายละเอียดลงในใบคำร้องมสธ 11 แนบมาพร้อมกับสำเนาใบแจ้งผลการสอบผ่านที่ปริ้นออกมาจากเว็บไซต์มสธ พร้อมใบคำร้องขอโอนชุดวิชา มสธ 19 และชำระค่าธรรมเนียมการโอนชุดวิชาละ 200 บาท ส่งไปสำนักทะเบียนและวัดผลต่อไป
การเทียบงานรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาของผู้ศึกษาจากการศึกษาในระบบ หรือการเทียบผลการเรียนรู้ของผู้ศึกษาจากการศึกษานอกระบบ เข้าสู่ชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี หรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย  ทั้งนี้การจะเทียบผลการศึกษาได้กับชุดวิชาใดนั้นให้อยู่ในดุลพินิจของสาขาวิชาที่จะพิจารณาเทียบให้
นักศึกษาที่ประสงค์ขอเทียบผลการศึกษา สามารถยื่นคำร้องขอเทียบผลการศึกษาได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษาเป็นต้นไป และสามารถขอเทียบผลการศึกษาได้มากกว่า 1 ครั้ง
  1. กรอกรายละเอียดลงในคำร้องการขอเทียบผลการศึกษา ( มสธ 18 )  หรือถ่ายสำเนาแบบฟอร์มคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ มสธ.  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp  ส่งไปสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้องลงในใบรายงานผลการศึกษาของสถาบันเดิม 3 ฉบับ และสำเนาเอกสารอื่นๆ ถ้ามี
  2. ชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้องการเทียบผลการศึกษา จำนวนเงิน  300 บาท
  • เป็นผู้มีสถานภาพเป็นนักศึกษาของ มสธ
  • เป็นผู้ศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเทียบผลการศึกษาได้ไม่เกินสามในสี่ของชุดวิชาตามหลักสูตรที่ขอเทียบ  และเมื่อเทียบผลการศึกษาเข้าสู่ชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแล้ว นักศึกษาต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษา
นักศึกษาทีได้รับอนุมัติเทียบผลการศึกษา หรือ เทียบประสบการณ์แล้ว จะไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม

1.เป็นรายวิชา หรือกลุ่มมรายวิชาในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

2.เนื้อหาของรายวิชา หรือกลุ่มมรายวิชานั้นต้องมีเนื้อหาสาระครอบคลุม หรือตรงกับเนื้อหาของชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่นักศึกษาผู้นั้นเข้าศึกษาไม่น้อยกว่าสามในสี่ของชุดวิชาที่ขอเทียบผลการศึกษาของรายวิชาหรือกลุ่มมรายวิชานั้น

3.รายวิชา หรือกลุ่มรายวิชานั้นต้องได้ลำดับขั้นไม่ต่ำกว่าระดับคะแนนตัวอักษร C หรือมีแต้มไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่นำมาขอเทียบผลการศึกษานั้น เมื่อรวมกันแล้วต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 6 หน่วยกิตขึ้นไป

  1. ภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนได้อย่างน้อย 1 ชุดวิชา  และไม่เกิน  3  ชุดวิชา
  2. ภาคการศึกษาพิเศษนักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนได้เพียง  1  ชุดวิชา

ระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วย เงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าวัสดุการศึกษา ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555  ได้กำหนดอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ดังนี้

1.ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาปกติ และภาคการศึกษาพิเศษ ภาคการศึกษาละ 500 บาท

2.ค่าชุดวิชา ชุดวิชาละ 300 บาท

3.ค่าวัสดุการศึกษา ชุดวิชาละ 700 บาท

4.สำหรับค่ากิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะจะกำหนดอัตราเรียกเก็บต่างกันให้นักศึกษาตรวจสอบจากคู่มือการลงทะเบียนเรียนของปีการศึกษานั้น

สามารถลงทะเบียนเรียนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในปฏิทินการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยจะจัดส่งคู่มือการลงทะเบียนเรียนของแต่ละภาค/ปีการศึกษาให้นักศึกษา โดยตรวจสอบชุดวิชาที่จะลงทะเบียนเรียนได้จากโปรแกรมการศึกษาที่มหาวิทยาลัยจัดให้ในหลักสูตรการศึกษาประจำสาขาวิชา ซึ่งได้จัดส่งให้นักศึกษาในภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษา
  1. หากชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนมีอยู่ในโครงสร้างของหลักสูตรและมีวัน เวลา สอบไม่ซ้ำซ้อนกัน นักศึกษาสามารถลงทะเบียนชุดวิชาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขอเปลี่ยนชุดวิชา
  2. หากชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน ไม่มีอยู่ในโครงสร้างของหลักสูตรแต่ถ้าหลักสูตรที่นักศึกษา ศึกษาอยู่กำหนดให้ลงทะเบียนชุดวิชาเลือกเสรี นักศึกษาสามารถใช้ชุดวิชาดังกล่าวเป็นชุดวิชาเลือกเสรีได้ แต่ต้องไม่เป็นชุดวิชาที่ห้ามลงทะเบียนเป็นชุดวิชาเลือกเสรี
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนและยังสอบไม่ผ่านตามโปรแกรมการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาสามารถจัดโปรแกรมการศึกษาหรือวางแผนการเรียนด้วยตนเองได้ โดยการนำชุดวิชาที่ยังสอบไม่ผ่านมาลงทะเบียนเรียนคละกับชุดวิชาที่มหาวิทยาลัยจัดให้ตามโปรแกรมการศึกษา หรือนำชุดวิชาที่ยังสอบไม่ผ่านมาลงทะเบียนเรียนก่อนก็ได้ ทั้งนี้ขอให้นักศึกษาวางแผนการเรียนให้รอบคอบด้วย เนื่องจากบางชุดวิชาจะเปิดสอนเฉพาะภาคการศึกษาที่ 1 บางชุดวิชาจะเปิดสอนเฉพาะภาคการศึกษาที่ 2 และขอให้ตรวจสอบชุดวิชาที่เปิดสอนวัน เวลาสอบจากตารางสอบไล่ในคู่มือลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษานั้น ๆ ด้วย
มหาวิทยาลัยไม่จำกัดจำนวนครั้งที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน กรณีที่นักศึกษาสอบไล่ไม่ผ่านในภาคการศึกษาใด สามารถลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาดังกล่าวในภาคการศึกษานั้น ๆ หากสอบซ่อมไม่ผ่านต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชานั้นใหม่ และหากสอบไล่ไม่ผ่านอีก นักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียนสอบซ่อมในภาคการศึกษานั้น ๆ ได้อีกจนกว่าจะสอบผ่านภายในระยะเวลา 3 เท่าของหลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษา

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ดังนี้

  1. ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาที่เหลือได้ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอนตามตารางสอบแต่เมื่อรวมกับชุดวิชาอื่นแล้วต้องไม่เกิน 3 ชุดวิชา ในภาคการศึกษานั้น ๆ
  2. รอลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาพิเศษ (หากมีเปิดสอนตามตารางสอบ) โดยลงทะเบียนเรียนได้เพียงครั้งละ 1 ชุดวิชา

กรณีดังกล่าวนักศึกษาสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  1. หากชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนมีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตร และมีวัน เวลาสอบไม่ซ้ำซ้อนกัน นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนชุดวิชาดังกล่าว โดยไม่ต้องขอถอนชุดวิชา
  2. หากชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไม่มีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตร แต่หลักสูตรที่ศึกษากำหนดให้ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี และชุดวิชานั้นไม่เป็นชุดวิชาที่ห้ามใช้เป็นชุดวิชาเลือกเสรี นักศึกษาสามารถใช้ชุดวิชาดังกล่าวเป็นชุดวิชาเลือกเสรีได้ โดยไม่ต้องขอถอนชุดวิชา
  3. หากชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไม่มีอยู่ในโครงสร้างหลักสูตร และหลักสูตรที่ศึกษาไม่กำหนดให้ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี นักศึกษาสามารถเปลี่ยนชุดวิชาได้ โดยการยื่นคำร้องขอเพิ่ม-ถอนชุดวิชาภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้การถอนชุดวิชา มหาวิทยาลัยไม่คืนเงินให้ แต่จะจัดส่งวัสดุการศึกษาให้ตามปกติ (กรณีสั่งซื้อ) ดังนั้นการขอเพิ่มชุดวิชานักศึกษาจะต้องชำระเงินตามปกติ

การลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคการศึกษานักศึกษาสามารถตรวจสอบ  วัน  เวลาสอบล่วงหน้าได้จากตารางสอบไล่ในคู่มือลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษานั้น ๆ กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาที่มีวัน  เวลาสอบตรงกัน  สามารถเลือกดำเนินการได้ดังนี้

  1. ยื่นคำร้องขอถอนชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่งตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด (การถอนชุดวิชานักศึกษาจะไม่ได้รับเงินคืน)
  2. เลือกเข้าสอบชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่ง และพยายามสอบให้ผ่าน เพื่อมีสิทธิลงทะเบียนสอบซ่อมอีกชุดวิชาที่ไม่ได้เข้าสอบได้  แต่หากสอบไม่ผ่านจะต้องเลือกลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่ง และนำอีกชุดวิชาไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาซ้ำกับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียน  สำนักทะเบียนและวัดผลจะไม่รับลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชานั้นอีก และจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาแก้ไขชุดวิชาใหม่ โดยไม่ต้องขอถอนชุดวิชา  หากยื่นคำร้องขอถอนชุดวิชา จะมีผลกระทบกับชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนไว้ในครั้งแรก
  1. นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอถอนชุดวิชาและขอลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาใหม่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
  2. การขอถอนชุดวิชานักศึกษาจะไม่ได้รับเงินคืน  และการขอเพิ่มชุดวิชานักศึกษาจะต้องชำระเงินใหม่ตามปกติ
  1. นักศึกษาจะลงทะเบียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ ได้ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาโดยต้องเหลือชุดวิชาที่จะลงทะเบียนเรียนเพียง 1-3 ชุดวิชา
  2. หากนักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ ในขณะที่ยังไม่มีสิทธิลงทะเบียนเรียน สำนักทะเบียนและวัดผลจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาทราบเพื่อลงทะเบียนเรียนชุดวิชาอื่นแทน
กรณีที่นักศึกษาเหลือชุดวิชา 3 ชุดวิชาสุดท้ายตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ ฯ ในภาคการศึกษานั้นได้ถึงแม้ว่าชุดวิชาที่เหลือบางชุดวิชาไม่เปิดสอนในภาคการศึกษาดังกล่าวก็ตาม
นักศึกษาสามารถเลือกชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นชุดวิชาเลือกเสรีได้ทุกชุดวิชา ยกเว้นชุดวิชาที่ไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนเป็นชุดวิชาเลือกเสรีตามประกาศฯ  เรื่องเกณฑ์การลงทะเบียนชุดวิชาเลือกเสรี  ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือการลงทะเบียนเรียน หรือหลักสูตรการศึกษาแต่ละสาขาวิชา
นักศึกษาสามารถเปลี่ยนชุดวิชาเลือกเสรีได้  โดยการลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรีใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรีชุดวิชาใดแล้วสอบไม่ผ่าน สามารถเลือกลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรีชุดวิชาใหม่ได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียนเรียนเพื่อสอบผ่านชุดวิชาเดิม และจะไม่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผลการเรียนในใบรายงานผลการศึกษาจะปรากฏเฉพาะชุดวิชาที่สอบผ่านเท่านั้น
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาพิเศษมากกว่า 1 ชุดวิชา เนื่องจากระยะเวลาการศึกษาในภาคการศึกษาพิเศษมีจำกัด หากลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 ชุดวิชาจะทำให้นักศึกษามีเวลาในการศึกษาไม่เพียงพอ และเพื่อมาตรฐานในการศึกษา
เนื่องจากภาคการศึกษาพิเศษไม่ได้กำหนดให้มีการสอบซ่อม ดังนั้นนักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนชุดวิชาดังกล่าวใหม่ได้ในภาคการศึกษาต่อไปที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
  1. ตารางสอบซ่อมและตารางสอบไล่ภาคการศึกษาที่  2  จะเป็นตารางสอบเดียวกัน  เพียงแต่เปลี่ยนแปลงวัน  เดือน  ปี  ที่สอบเท่านั้น
  2. สำหรับตารางสอบภาคการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยจะจัดตารางสอบโดยใช้ตารางสอบไล่หรือตารางสอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 ในคาบที่ 1 และคาบที่ 2 และเปิดสอนชุดวิชาบางชุดวิชาเพิ่มเติมในคาบที่ 3 ดังนั้นนักศึกษาสามารถตรวจสอบกำหนดวัน เวลาสอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 ได้จากตารางสอบภาคการศึกษาพิเศษ

กรณีของนักศึกษาอาจจะพบปัญหาดังนี้

1.ลงทะเบียนชุดวิชาไม่เปิดสอบ

2.ชำระค่าลงทะเบียนเงินขาด

3.ชำระค่าลงทะเบียนไม่ตรงตามช่องทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4.ลงทะเบียนชุดวิชาที่ไม่อนุญาตเลือกเสรี

5.ไม่ชำระค่าวัสดุการศึกษา (กรณีปรับปรุงชุดวิชา)

6.ไม่ชำระค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา (กรณีไม่ได้ลงทะเบียนภาคก่อนหน้า)

7.ไม่ชำระค่าต่ออายุสถานภาพการเป็นนักศึกษา

8.ขอยกเว้นค่าวัสดุการศึกษา (ไม่แนบสำเนาผลการสอบกรณีเคยเรียนโครงการสัมฤทธิบัตร)

 

หมายเหตุ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนและวัดผลได้ที่ E-mail : re.reoffice@stou.ac.th หรือ กล่องข้อความถามไพฑูรย์ @askpaitoon

การลงทะเบียนเรียนผ่านทางออนไลน์นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดและจะต้องมีสถานภาพการเป็นนักศึกษาในภาคการศึกษาปัจจุบัน  คลิกได้ที่นี่  http://cs.stou.ac.th/register/ 

หมายเหตุ ติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนและวัดผลได้ที่ E-mail : re.reoffice@stou.ac.th หรือ กล่องข้อความถามไพฑูรย์ @askpaitoon

ไม่ได้ เนื่องจากการลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ ไว้แล้วอย่างน้อย 1 ชุดวิชา
  1. เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลตรวจสอบพบว่านักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาเพียง 1 และซ้ำกับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาทราบเพื่อแก้ไข แต่หากจะลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชามากกว่า 1 ชุดวิชาจะรับลงทะเบียนชุดวิชาที่ลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาถูกต้องให้โดยจะตัดฝากเงินส่วนที่เกินสำหรับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเพิ่มซ้ำจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาแก้ไขชุดวิชา
  2. กรณีดังกล่าวนักศึกษาจะขอถอนชุดวิชาที่ซ้ำซ้อนไม่ได้  เพราะหากถอนชุดวิชาจะมีผลกระทบกับชุดวิชาเดิมที่ลงทะเบียนเรียนไว้
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ยกเว้นผู้ที่ลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาเพื่อเข้าสอบเฉพาะภาคทฤษฎีอย่างเดียว เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาคปฏิบัติซึ่งนักศึกษาได้สอบผ่านไว้แล้ว
การลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาไม่ต้องชำระค่าบำรุงการศึกษา เพราะว่านักศึกษาได้ชำระพร้อมกับการลงทะเบียนเรียนแล้ว
ไม่ได้ เนื่องจากการลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชานักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไว้อย่างน้อย 1 ชุดวิชา และเมื่อนับชุดวิชาที่ขอเพิ่มชุดวิชาต้องรวมกับชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไว้ไม่เกิน 3 ชุดวิชา
ได้  โดยที่นักศึกษาต้องเลือกแผนการศึกษา ก2 ก3 ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดเท่านั้น
นักศึกษาสามารถขอถอนชุดวิชาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดการขอถอนชุดวิชาของภาคการศึกษานั้น ๆ โดยการยื่นคำร้องพร้อมระบุชุดวิชาและสาเหตุที่ขอถอนชุดวิชาให้ชัดเจน
ไม่ได้ เพราะการถอนชุดวิชามหาวิทยาลัยจะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนแต่ยังคงจัดส่งวัสดุการศึกษาให้ตามปกติ (ถ้าสั่งซื้อ) ดังนั้นการขอเพิ่มชุดวิชานักศึกษาต้องชำระเงินใหม่ตามปกติ
ไม่ต้องถอนชุดวิชา เนื่องจากการขอถอนชุดวิชานักศึกษาจะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีดังกล่าวนักศึกษาสามารถเข้าสอบชุดวิชาเลือกเสรี และชุดวิชาเลือกใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนไว้ได้ และเมื่อสำเร็จการศึกษาชุดวิชานั้นจะไม่ปรากฏในใบรายงานผลการศึกษา
กรณีดังกล่าว มหาวิทยาลัยจะถือว่าการถอนชุดวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้แล้วเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสถานภาพนักศึกษาโดยที่นักศึกษาไม่ต้องชำระค่ารักษาสถานภาพนักศึกษาแต่อย่างใด
ภาคการศึกษาใดหากนักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ ต้องยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษาในภาคการศึกษานั้น เพื่อคงสถานภาพการเป็นนักศึกษาไว้

ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2559 เป็นต้นไป ทุกรหัสประจำตัวนักศึกษาจะต้องชำระค่าบำรุงการศึกษาภาคการศึกษาละ 500 บาท   

หมายเหตุ   สำหรับนักศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนปีการศึกษา 2556 หากมีการชำระค่าบำรุงการศึกษาย้อนหลัง สามารถชำระค่าบำรุงการศึกษาภาคการศึกษาละ 300 บาท ได้จนถึงภาคการศึกษาที่ 2/2558  เท่านั้น

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนพร้อมชำระค่าบำรุงการศึกษาใหม่ได้  หากอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดลงทะเบียนเรียนและจะถือการลาพักการศึกษาเป็นโมฆะ
ภาคการศึกษาพิเศษนักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนหรือไม่ก็ได้ และหากไม่ลงทะเบียนเรียนก็ไม่ต้องขอลาพักการศึกษา
  1. นักศึกษาที่มีความจำเป็นขอลาพักการศึกษาเกิน 2 ภาคการศึกษาติดต่อกันสามารถยื่นคำร้องไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อเสนอพิจารณาได้
  2. ระยะเวลาการลาพักการศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาเรียนด้วย  ดังนั้นนักศึกษาที่ขอลาพักการศึกษาหลายภาคการศึกษาจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาเรียนตามหลักสูตรด้วย
นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอถอนการลาพักการมาพร้อมกับการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น ภายในกำหนดระยะเวลาการลงทะเบียนเรียน โดยมหาวิทยาลัยจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมในการลาพักการศึกษาให้นักศึกษา
  1. นักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบซ่อมต้องชำระค่าธรรมเนียมสอบซ่อม ชุดวิชาละ 200 บาท
  2. สำหรับชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะและสอบไม่ผ่านภาคทฤษฎีเพียงกิจกรรมเดียว ชำระชุดวิชาละ 200 บาท กรณีที่สอบไม่ผ่านปฏิบัติเพียงกิจกรรมเดียวหรือสอบไม่ผ่านทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติชำระค่าธรรมเนียมสอบซ่อมชุดวิชาละ 200 บาท และค่าวัสดุกิจกรรมเสริมทักษะ (นักศึกษาสามารถตรวจสอบค่าวัสดุกิจกรรมเสริมทักษะของแต่ละชุดวิชาได้จากคำชี้แจงลงทะเบียนสอบซ่อม)
ชุดวิชาที่นักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนสอบซ่อมจะต้องเป็นชุดวิชาที่สอบไล่ไม่ผ่านหรือไม่ได้เข้าสอบไล่ ในภาคการศึกษานั้น ๆ เท่านั้น ดังนั้นชุดวิชาที่นักศึกษาสอบซ่อมไม่ผ่านจะต้องนำไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน ส่วนค่าวัสดุการศึกษาท่านไม่ต้องชำระ  (ยกเว้นชุดวิชานั้น ๆ มีการปรับปรุงเอกสารการสอนใหม่ถึงแม้จะไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาค/ปีการศึกษาที่ปรับปรุงก็ต้องชำระค่าวัสดุการศึกษาใหม่ด้วย)
ในกรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาที่สอบผ่านมาแล้วในการสอบไล่ หากมหาวิทยาลัยตรวจสอบพบจะไม่รับลงทะเบียนสอบซ่อมและจะแจ้งให้นักศึกษาทราบ
กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาที่ไม่ได้สอบตกมาจากการสอบไล่ของภาคการศึกษานั้นๆ  มหาวิทยาลัยจะไม่รับลงทะเบียนสอบซ่อมและจะแจ้งให้นักศึกษาทราบ  และจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาที่เปิดสอน
นักศึกษาเข้าสอบซ่อม โดยไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อม มหาวิทยาลัยจะไม่แจ้งผลการสอบซ่อมให้ทราบ และจะถือผลการสอบซ่อมเป็นโมฆะ ซึ่งนักศึกษาจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยจะจัดสอบซ่อมให้นักศึกษาตามรายชื่อผู้ที่สอบไล่ไม่ผ่าน หรือไม่ได้เข้าสอบในภาคการศึกษานั้นๆ และมีสถานภาพนักศึกษาในภาคการศึกษาถัดไป โดยการลงทะเบียนเรียนหรือลาพักการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีดังกล่าวนักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมไว้อาจจะได้รับใบแจ้งกำหนดการสอบด้วย แต่นักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบซ่อมไว้แล้วเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบซ่อมได้
นักศึกษาจะมีสิทธิลงทะเบียนเรียนเข้าอบรมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ  ในภาคการศึกษาที่เหลือ 1-3 ชุดวิชาสุดท้าย
เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลรับลงทะเบียนเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  สำนักวิชาการจะจัดกลุ่มอบรม  และแจ้งรายละเอียดการอบรมเข้มให้นักศึกษาทราบเป็นรายบุคคล และสามารถรอตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์มสธ. หัวเรื่องการเรียนการสอน การอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ
ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนไว้  แต่ถ้านักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนไว้  หรือลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีไว้แล้วแต่ไม่ได้เข้าสอบหรือเข้าสอบซ่อมแล้วแต่สอบไม่ผ่าน  นักศึกษาจะต้องนำไปลงทะเบียนเรียนใหม่  โดยสอบเฉพาะภาคทฤษฎีเพียงอย่างเดียวจนกว่าจะสอบผ่าน แต่หากมีการปรับปรุงชุดวิชา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่และสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อม  และเข้าฝึกปฏิบัติในภาคการศึกษาถัดไป  หากนักศึกษายังไม่ได้เข้ารับการฝึกปฏิบัติอีก หรือไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อม  ให้นักศึกษานำไปลงทะเบียนเรียนใหม่  โดยสอบเฉพาะภาคปฏิบัติเพียงอย่างเดียวจนกว่าจะสอบผ่าน

ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนไว้  แต่ถ้านักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนไว้  หรือลงทะเบียนสอบซ่อมภาคทฤษฎีไว้แล้วแต่ไม่ได้เข้าสอบหรือเข้าสอบแล้วแต่สอบไม่ผ่าน  นักศึกษาจะต้องนำไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาที่เปิดสอน โดยสอบเฉพาะภาคทฤษฎีเพียงอย่างเดียวและไม่ต้องชำระค่าวัสดุกิจกรรมในการอบรมประสบการณ์วิชาชีพ หรือ ฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ เว้นแต่เป็นชุดวิชาที่มีการปรับปรุงเอกสารการสอน นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่โดยต้องชำระค่าชุดวิชา ค่าวัสดุการศึกษาและค่าวัสดุกิจกรรม และต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใหม่
ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อมภาคปฏิบัติ  และเข้าฝึกปฏิบัติเสริมทักษะพร้อมกับนักศึกษาในภาคการศึกษาถัดไป ถ้านักศึกษายังไม่ได้เข้ารับการฝึกปฏิบัตเสริมทักษะอีก  หรือเข้าฝึกปฏิบัติเสริมทักษะแล้วยังสอบไม่ผ่านภาคปฏิบัติ หรือไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อม ให้นักศึกษานำไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาที่เปิดสอน  โดยจะต้องเข้าสอบภาคปฏิบัติเพียงอย่างเดียว เว้นแต่เป็นชุดวิชาที่มีการปรับปรุงเอกสารการสอน นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่โดยต้องชำระค่าชุดวิชา ค่าวัสดุการศึกษาและค่าวัสดุกิจกรรม และต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใหม่

1. นักศึกษาต้องเหลือชุดวิชาที่ศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรกำหนดไม่เกิน 4 ชุดวิชาสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษา

2. เป็นชุดวิชาที่ได้รับอนุมัติหรือผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารชุดวิชา

3. ชุดวิชาเชิงปฏิบัติที่จัดอบรมเข้ม (พิเศษ) เฉพาะภาคทฤษฎีนั้น  นักศึกษาต้องสอบผ่านภาคปฏิบัติมาแล้วตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป และสอบไม่ผ่านมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา 

4.ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพฯ ที่จัดอบรมเข้ม (พิเศษ) เฉพาะภาคทฤษฎีนั้น  นักศึกษาต้องสอบผ่านภาคปฏิบัติมาแล้วตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป และสอบไม่ผ่านมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา 

5.กรณีที่มหาวิทยาลัยปรับปรุงชุดวิชา นักศึกษาจะไม่มีสิทธิเข้ารับการอบรมเข้ม (พิเศษ)

6. ผู้ที่มีสิทธิเข้ารับการอบรมเข้ม (พิเศษ) ที่มหาวิทยาลัยจัดให้ในชุดวิชาใด สำนักวิชาการจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเข้ม (พิเศษ) ให้นักศึกษาทราบเป็นรายบุคคลที่เว็บไซต์มสธ. https://www.stou.ac.th/main/Bachelor.html

  1. ยื่นคำร้องขอแบบฟอร์มการย้ายสังกัดสาขาวิชา  (มสธ 9) ซึ่งสามารถคัดลอกสำเนาได้จากคู่มือนักศึกษาหรือ download จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับ  มสธ 9  ให้กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบฟอร์มแล้วส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมเอกสารประกอบการย้ายสังกัดสาขาวิชา (ใบวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ หรือเอกสารอื่น ๆ ถ้ามี)
  3. นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2552 ต้องชำระเงิน 100 บาท เป็นค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายในการขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตลอดอายุการเป็นนักศึกษา 
  4. มหาวิทยาลัยจะจัดส่งหนังสือตอบอนุมัติการย้ายสังกัดสาขาวิชาพร้อมแจ้งเลขประจำตัวนักศึกษาใหม่ และจัดทำบัตรประจำตัวใหม่ให้ (โดยที่นักศึกษาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำบัตร)

      1.ยื่นคำร้องขอแบบฟอร์มการเปลี่ยนวิชาเอก  (มสธ 9) ซึ่งสามารถคัดลอกสำเนาได้จากคู่มือนักศึกษาหรือ download จาก website ของมหาวิทยาลัย

      2.เมื่อได้รับ  มสธ 9  ให้กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบฟอร์มแล้วส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมเอกสารประกอบการเปลี่ยนวิชาเอก (ใบวุฒิการศึกษาจำนวน 2 ฉบับ หรือเอกสารอื่น ๆ ถ้ามี)  

      3.นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2552 ต้องชำระเงิน จำนวน 100  บาท เป็นค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายในการขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตลอดอายุการเป็นนักศึกษา หรือยื่นคำร้องทางอินเทอร์เน็ต (ศึกษารายละเอียดได้ที่) 

      4.การเปลี่ยนวิชาเอกนักศึกษาไม่ต้องขอทำบัตรนักศึกษาใหม่ โดยยังคงใช้รหัสประจำตัวนักศึกษาเดิม

  1. ภาคต้น นักศึกษาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี 
  2. ภาคปลาย นักศึกษาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี 
ไม่ได้ เนื่องจากตามระเบียบฯ  ว่าด้วยการย้ายสังกัดสาขาวิชาและการเปลี่ยนวิชาเอก  กำหนดให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษาปกติ  ดังนั้นนักศึกษาขอย้ายสังกัดสาขาวิชาหรือเปลี่ยนวิชาเอกได้ในภาคการศึกษาที่  2  เป็นต้นไป
ให้นักศึกษาดำเนินการยื่นคำร้อง  ขอย้ายสังกัดสาขาวิชา  หรือเปลี่ยนวิชาเอกกลับไปสังกัดสาขาวิชา หรือวิชาเอกเดิมตามขั้นตอนของการย้ายสังกัดสาขาวิชา หรือเปลี่ยน  วิชาเอก
นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติย้ายสังกัดสาขาวิชาหรือเปลี่ยนวิชาเอกมหาวิทยาลัยจะดำเนินการโอนชุดวิชาทั้งหมด  ที่นักศึกษาเคยลงทะเบียนเรียนไว้ในสาขาวิชาหรือวิชาเอกเดิม  มาไว้ในสาขาวิชา หรือวิชาเอกใหม่ทุกชุดวิชา โดยที่นักศึกษาไม่ต้องยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชา
นักศึกษาอาจจะลงทะเบียนเรียนชุดวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปหรือชุดวิชาที่สาขาวิชากำหนดให้ศึกษาร่วมกันได้  ส่วนชุดวิชาอื่นๆ เช่น ชุดวิชาทีมีการอบรมเข้ม ชุดวิชาที่มีการฝึกปฎิบัติเสริมทักษะ และชุดวิชาทีมีการเรียนออน์ไลน์ ควรรอลงทะเบียนเรียนหลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ย้ายสังกัดสาขาวิชา  หรือเปลี่ยนวิชาเอกแล้ว
  1. หากนักศึกษาต้องการศึกษาเน้นกลุ่มวิชาเฉพาะการบริหารงานบุคคล ขอให้ท่านยื่นคำร้องขอเปลี่ยนกลุ่มวิชาเฉพาะไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลตามแบบ มสธ 9 พร้อมจัดส่งสำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ

         นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2552 ต้องชำระเงิน 100 บาท เป็นค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายในการขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตลอดอายุการเป็นนักศึกษา

      2.หากไม่ประสงค์จะเปลี่ยนกลุ่มวิชาเฉพาะจะถือชุดวิชาของเน้นกลุ่มวิชาเฉพาะการบริหารงานบุคคลซึ่งสอบผ่านแล้ว เป็นชุดวิชาเกินของหลักสูตรหรือนักศึกษาอาจจะใช้เป็นชุดวิชาเลือกเสรี หากไม่เป็นชุดวิชาที่สาขาวิชาห้ามลงทะเบียนเรียนเป็นชุดวิชาเลือกเสรี ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องศึกษาชุดวิชาเฉพาะของกลุ่มวิชาเฉพาะการบริหารทั่วไปให้ครบทั้ง 4 ชุดวิชาด้วย

1.นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวิชาเอกได้โดยดำเนินการตามแบบฟอร์ม มสธ 9 (ฟรีไม่เสียค่าธรรมเนียมสำหรับนักศึกษาที่สมัครเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป)

2.แนบสำเนาวุฒิการศึกษาจำนวน 2 ฉบับ โดยรับรองสำเนาถูกต้อง

3.ภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนวิชาเอกแล้ว มหาวิทยาลัยจะนับระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ปีที่สมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่

  1. ให้นักศึกษาขอคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่  (มสธ  7)  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล  หรือคัดลอกสำเนาคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/เมื่อได้รับใบคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ (มสธ 7) แล้วให้กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อยแล้วจัดส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท หรือ
  2. ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ต (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่)
  3. เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการเปลี่ยนที่อยู่ให้เรียบร้อยแล้ว จะจัดส่งใบตอบอนุมัติการเปลี่ยนที่อยู่ให้นักศึกษาทราบ ในระหว่างที่รอการตอบอนุมัติให้นักศึกษาตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยส่งไปให้ตามที่อยู่เดิมด้วย

หมายเหตุ -นักศึกษาที่ชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตั้งแต่แรกเข้าศึกษา จำนวน 100 บาทแล้วไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนที่อยู่              -นักศึกษาจะต้องกรอกในส่วนข้อมูลสำหรับให้มหาวิทยาลัยใช้ในการจัดสนามสอบด้วยทุกครั้ง มิฉะนั้น จะถือว่านักศึกษายืนยันให้ใช้สถานที่ในการจัดสนามสอบตามข้อมูลที่กรอกไว้ในใบสมัคร

  1. ให้ใช้วิธีฝากส่งต่อ  โดยแจ้งที่อยู่ของญาติ  หรือเพื่อน  เพื่อรับเอกสารแทนนักศึกษาแล้วส่งต่อให้นักศึกษาอีกต่อหนึ่ง
  2. ใช้วิธีพักไว้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ โดยทำการตกลงกับนายไปรษณีย์ ให้พักเอกสารที่มีถึงนักศึกษาไว้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ก่อน แล้วนักศึกษาจะไปรับจากที่ทำการไปรษณีย์ภายหลังด้วยตนเอง
  3. ติดต่อเช่าตู้ไปรษณีย์ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบเป็นการชั่วคราวไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลได้ก่อนการสอบภาคการศึกษานั้น ๆไม่น้อยกว่า 45 วัน
  1. ให้แจ้งมหาวิทยาลัยเพื่อขอคำร้อง ขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษา โดยระบุ “บัตรประจำตัวหาย”ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล หรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
  2. ส่งคำร้องพร้อมสำเนาใบแจ้งความ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูปและค่าธรรมเนียม 100 บาท  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล
  1. ให้แจ้งมหาวิทยาลัยเพื่อขอคำร้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาโดยระบุว่า”บัตรหมดอายุ” หรือ ”บัตรชำรุด” แล้วแต่กรณี ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลหรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
  3. ส่งคำร้องพร้อมบัตรประจำตัวนักศึกษาที่หมดอายุหรือบัตรชำรุด รูปถ่ายแต่งกายสุภาพ ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป และค่าธรรมเนียม 100 บาท ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล
  1. ให้ยื่นคำร้องเพื่อขอคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และชื่อสกุล ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลหรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
  3. ส่งคำร้อง มสธ 8 สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  ชื่อสกุล  และค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ - ชื่อ – ชื่อสกุล จำนวน 100 บาท  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล
  4. ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยอนุมัติการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  และชื่อสกุลแล้ว  จะจัดส่งหนังสือตอบรับการอนุมัติให้นักศึกษาพร้อมกับเอกสารขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
  5. นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา  2545  เป็นต้นไป  กรณีที่เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเช่น  ยศ  หรือตำแหน่ง ไม่ต้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
  6. หมายเหตุ นักศึกษาที่ชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษา จำนวน 100 บาทแล้วไม้ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  ชื่อสกุล 
ให้นักศึกษาเตรียมรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ไปติดต่อกองอำนวยการสอบ ณ สถานที่สอบ เพื่อทำบัตรเข้าห้องสอบ โดยใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชน

1.บัตรประจำตัวนักศึกษาสูญหาย

2.บัตรประจำตัวนักศึกษาชำรุด

3.เปลี่ยนยศ คำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล

4.บัตรประจำตัวนักศึกษาหมดอายุ

5.ย้ายสาขาวิชา

มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาใด ๆ เป็นครั้งแรกในสถานภาพหนึ่ง ๆ จะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาพร้อมการลงทะเบียนเรียนด้วย และนักศึกษาสามารถสั่งซื้อวัสดุการศึกษาชุดวิชาต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือเพื่อศึกษาเนื้อหาของชุดวิชาที่จะลงทะเบียนเรียนได้ที่ ฝ่ายเผยแพร่และจัดจำหน่าย สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อลงทะเบียนเรียนชุดวิชานั้น ๆ เป็นครั้งแรกจะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาพร้อมกับการลงทะเบียนเรียนด้วย ถึงแม้ว่านักศึกษาเคยสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม กรณีนี้นักศึกษาอาจจะศึกษาเนื้อหาของชุดวิชาล่วงหน้าได้จากวัสดุการศึกษาที่ห้องสมุดประชาชนหรือมุม มสธ.ที่เป็นศูนย์บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือของเพื่อนนักศึกษาด้วยกันที่เคยลงทะเบียนเรียนในชุดวิชาดังกล่าว
เพื่อให้การวัดผลการศึกษาหรือการสอบชุดวิชาดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในเอกสารการสอนฉบับปรับปรุง นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนพร้อมกับสั่งซื้อวัสดุการศึกษาใหม่ (ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ลงทะเบียนในภาค/ปีการศึกษาที่ปรับปรุงก็ตาม)
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ จะผลิตชุดวิชาการศึกษาทั่วไปทุกชุดวิชาให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาที่ต้องศึกษาชุดวิชาการศึกษาทั่วไปใช้ศึกษาร่วมกัน ดังนั้นกรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนชุดวิชาดังกล่าวตามที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด และได้รับเอกสารการสอนเป็นของสาขาวิชาศิลปศาสตร์นั้น ถือว่าได้รับเอกสารการสอนถูกต้องแล้ว และสามารถศึกษาได้ตามปกติ
นักศึกษาไม่ต้องชำระค่าวัสดุการศึกษาอีก ชำระเฉพาะค่าลงทะเบียนเรียนและค่าวัสดุกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะโดยให้ระบุเป็นการลงทะเบียนเรียน (ไม่สั่งซื้อวัสดุการศึกษา) ถึงแม้ว่าจะสอบผ่านภาคปฎิบัติแล้วก็ตาม   ยกเว้นภาคการศึกษาที่มีการใช้เอกสารการสอนฉบับปรับปรุงจะต้องสั่งซื้อเอกสารการสอนฉบับปรับปรุงใหม่พร้อมกับการลงทะเบียนเรียนด้วย
ระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย เงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าวัสดุการศึกษา ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558  ในกรณีที่นักศึกษาสอบผ่านภาคปฏิบัติ แต่สอบไม่ผ่านภาคทฤษฎีเมื่อนำชุดวิชามาลงทะเบียนใหม่ไม่ต้องชำระค่าวัสดุกิจกรรมในการอบรมเสริมประสบการณ์วิชาชีพหรือฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ  ยกเว้นเป็นชุดวิชาที่มีการปรับปรุงวัสดุการศึกษา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนใหม่โดยต้องชำระเงินค่าชุดวิชา ค่าวัสดุการศึกษา ค่าวัสดุกิจกรรม และต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใหม่ (ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ลงทะเบียนในภาค/ปีการศึกษาที่ปรับปรุงก็ตาม)
  1. มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้นักศึกษาตามจังหวัดที่นักศึกษาแจ้งที่อยู่ไว้กับมหาวิทยาลัยและจะจัดส่งใบแจ้งกำหนดการสอบให้นักศึกษาทุกคนก่อนกำหนดการสอบประมาณ  10 - 25 วัน
  2. หากไม่ได้รับใบแจ้งกำหนดการสอบ นักศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลการสอบได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย  www.stou.ac.th  ตรวจสอบผ่านทาง E-mail address: re.reoffice@stou.ac.th  ผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยเข้ากล่องข้อความถามไพฑูรย์  https://www.facebook.com/askpaitoon/

การแสดงตนในการเข้าสอบให้นักศึกษานำบัตรประจำตัวนักศึกษาหรือบัตรประจำตัวผู้เรียน และบัตรประจำตัวประชาชนมาให้ครบทั้งสองบัตร กรณีขาดบัตรประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 บัตร ให้นำรูปถ่ายมาติดใบคำร้องขอทำบัตรเข้าสอบ 2 รูป (เป็นรูปถ่ายที่ถ่ายในคราวเดียวกัน) ซึ่งถ่ายมาไม่เกิน  6  เดือน  ที่กองกลางสนามสอบ  บัตรเข้าสอบที่ไม่ได้ติดรูปถ่าย มหาวิทยาลัยฯ จะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและให้ถือว่านักศึกษาสอบไม่ผ่านในชุดวิชานั้น

ลักษณะของข้อสอบโดยทั่วไปจะเป็นแบบปรนัย แต่จะมีบางชุดวิชาจะมีลักษณะเป็นอัตนัยด้วยซึ่งมหาวิทยาลัยจะแจ้งลักษณะของข้อสอบของแต่ละภาคการศึกษาให้นักศึกษาทราบในข่าว มสธ.ก่อนการสอบภาคการศึกษานั้น ๆ หรือสามารถตรวจสอบได้จาก website ของมหาวิทยาลัย ที่ www.stou.ac.th
  1. มหาวิทยาลัยจัดเตรียมข้อมูลการสอบซ่อมจากรายชื่อผู้ที่สอบไล่ไม่ผ่าน หรือไม่ได้เข้าสอบในภาคการศึกษานั้น ๆ และมีสถานภาพเป็นนักศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาปัจจุบัน (ลงทะเบียนเรียนหรือลาพักการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด) ดังนั้นนักศึกษาอาจจะมีรายชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเข้าสอบซ่อมด้วยถึงแม้ว่าท่านไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมก็ตาม แต่ผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบซ่อมจะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนสอบซ่อม ในภาคการศึกษาดังกล่าวเท่านั้น
  2. หากนักศึกษาเข้าสอบซ่อมโดยที่ท่านไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมไว้ มหาวิทยาลัยจะไม่แจ้งผลการสอบให้ทราบ และจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน
  1. ในกรณีที่นักศึกษามีความจำเป็นต้องไปราชการต่างจังหวัด หรือไปธุระต่างจังหวัดใน ช่วงสอบ  ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบก่อนสอบ 45 วันเพื่อมหาวิทยาลัยจะได้จัดเตรียมข้อสอบให้นักศึกษา โดยให้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบ มสธ 27 ซึ่งคัดลอกสำเนาคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/
  2. ถ้านักศึกษาต้องเดินทางอย่างกระทันหันให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเข้าห้องสอบสำรองที่ สนามสอบที่นักศึกษาไปราชการ หรือไปธุระเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสนามสอบ จึงจะเข้าสอบได้
กรณีนี้ให้นักศึกษาไปติดต่อที่กองกลางประจำสนามสอบในจังหวัดที่นักศึกษาไปธุระหรือมีราชการเพื่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรอง โดยนักศึกษาจะต้องเตรียมบัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรประจำตัวประชาชน และใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนหรือใบแจ้งสนามสอบ ไปแสดงประกอบการพิจารณาด้วย
 กรณีนี้นักศึกษาจะต้องไปติดต่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรองที่สนามสอบเดิม และเตรียมหลักฐานเพื่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรองคือ บัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรประจำตัวประชาชน และใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนหรือใบแจ้งสนามสอบไปแสดงประกอบการพิจารณาด้วย
กรณีดังกล่าวนักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบเป็นการถาวรพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อพิจารณาได้
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล  มหาวิทยาลัยจะจัดสนามสอบตามเขตไปรษณีย์ที่อยู่ของนักศึกษาที่แจ้งไว้กับมหาวิทยาลัย โดยพยายามจัดสนามสอบให้กระจายทั่วไปทุกเขตไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและผู้เรียน ซึ่งสนามสอบแต่ละแห่งมีข้อจำกัดในเรื่องของอาคารสถานที่ และบุคลากรในการดำเนินการสอบ แต่มหาวิทยาลัยได้พยายามจัดให้เหมาะสมหรือใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามหากนักศึกษามึความจำเป็นที่จะขอเปลี่ยนสนามสอบ ขอให้ยื่นคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อพิจารณาต่อไป
ให้นักศึกษาติดต่อที่กองกลางสนามสอบเพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าสอบจากบัญชีผู้เข้าสอบอีกครั้ง(ถ้าไม่พบอาจจะต้องตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน หรือตรวจสอบสถานภาพนักศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้เข้าสอบห้องสอบสำรอง)
เนื่องจาก มสธ จัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศจึงไม่มีนโยบายให้นักศึกษาขอเปลี่ยนแปลงวัน และเวลาสอบ

นักศึกษาอาจจะมีปัญหาในการลงทะเบียนเรียน หรือสาเหตุดังนี้ 
1.ลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา โดยที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ก่อนในกรณีนี้ จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนเพิ่มและไม่จัดสอบให้ หรือ

2.ลงทะเบียนครั้งแรก ของแต่ละชุดวิชาแต่ไม่สั่งซื้อเอกสารการสอนในกรณีนี้จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนและไม่จัดสอบในชุดวิชานั้นๆ หรือ

 3.ลงทะเบียนในชุดวิชาที่ไม่มีสิทธิลงทะเบียนหรือยังไม่มีคุณสมบัติในกรณีนี้จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนเฉพาะชุดวิชาที่ยังไม่มีคุณสมบัติและไม่จัดสอบในชุดวิชานั้นๆ หรือ

  4. ลงทะเบียนล่าช้า

ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย การสอบไล่ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551

หมวด 3 แนวปฏิบัติการเข้าสอบของนักศึกษา

1.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องเข้าสอบเฉพาะชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนหรือลงทะเบียนสอบซ่อมแล้วเท่านั้น

2.       ไม่อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน เข้าสอบ 2 ชุดวิชา ในวันและเวลาสอบเดียวกัน

3.       ไม่อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียนเข้าห้องสอบหลังจากเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เริ่มทำการสอบไปแล้ว 30 นาที

4.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องมีหลักฐานแสดงตน คือ บัตรประจำตัวนักศึกษา/บัตรประจำตัวผู้เรียนและบัตรประจำตัวประชาชนครบทั้งสองบัตร ถ้าขาดบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองบัตร ให้เขียนคำร้องขอทำบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) ณ กองกลางสนามสอบ ก่อนเวลาสอบชุดวิชานั้น โดยนำรูปถ่ายที่เหมือนกัน ขนาด 1 นิ้ว ที่ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ห้ามใช้รูปถ่ายจากเครื่องถ่ายเอกสาร) มาขอทำบัตรเข้าสอบ และต้องคืนบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) ณ กองกลางสนามสอบเมื่อเสร็จสิ้นการสอบ

5.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถแต่งกายได้ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ต้องขออนุญาตผู้อำนวยการสนามสอบเพื่อขอเข้าห้องสอบโดยเขียนคำร้องขอเข้าสอบเนื่องจากแต่งกายไม่สุภาพ (บัตรสีฟ้า) เมื่อผู้อำนวยการสนามสอบอนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน ถือบัตรแต่งกายไม่สุภาพไปแสดงต่อกรรมการคุมสอบต่อไป

6.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่ไม่มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบทั้งห้องสอบปกติและห้องสอบสำรอง แต่มีหลักฐานในการลงทะเบียนเรียน ลงทะเบียนสอบซ่อม ให้เขียนคำร้องขอเข้าห้องสอบสำรอง (บัตรสีชมพู) เมื่อผู้อำนวยการสนามสอบ อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน ถือบัตรเข้าห้องสอบสำรองไปแสดงต่อกรรมการคุมสอบห้องสอบสำรองต่อไป

หมายเหตุ  นักศึกษา/ผู้เรียนที่เข้าสอบโดยไม่มีรูปถ่าย ไม่ส่งรูปถ่ายหรือไม่ส่งบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) คืนให้ผู้ประสานงานการสอบ (ตามข้อที่ 4) มหาวิทยาลัยจะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและให้ถือว่านักศึกษาสอบไม่ผ่านในชุดวิชานั้น
ไม่ต้องค่ะ เมื่อเลือกรูปแบบการสอบออนไลน์ในสถานภาพใดสถานภาพหนึ่งแล้ว จะถือว่าอีกสถานภาพหนึ่งเป็นการเลือกสอบรูปแบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน
แต่ละภาคการศึกษาสามารถเปลี่ยนรูปแบบการสอบออนไลน์ได้ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  หากพ้นระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดแล้วไม่เข้าสอบตามรูปแบบการสอบที่เลือกไว้ จะถือว่าเป็นผู้ขาดสอบ
มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการสอบ ให้นักศึกษาทราบภายหลังจากเสร็จสิ้นการสอบแต่ละครั้งประมาณ  35 - 45  วัน  โดยจะประกาศวันประกาศผลการสอบในแต่ละภาคการศึกษาให้ทราบในคู่มือการลงทะเบียนเรียนแต่ละปีการศึกษา
  1. มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการสอบถึงตัวนักศึกษาทุกคนทางไปรษณีย์  โดยจัดส่งตามที่อยู่ที่นักศึกษาแจ้งไว้กับมหาวิทยาลัย
  2. ตรวจสอบผลการสอบได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย  www.stou.ac.th

1.  H เกียรตินิยม (Honor)  หมายถึงสอบได้ช่วงคะแนน ร้อยละ  76  ขึ้นไป
2.  S ผ่าน (Satisfactory)         หมายถึงสอบได้ช่วงคะแนน ร้อยละ  60 - 75
3.  U ไม่ผ่าน (Unsatisfactory)      หมายถึงสอบได้ช่วงคะแนนต่ำกว่าร้อยละ  60
4.  I     (Incomplete)             หมายถึงผลการสอบไม่สมบูรณ์

ผลการสอบที่มีเครื่องหมาย  *  กำกับแสดงว่าเคยลงทะเบียนเรียนและสอบชุดวิชานั้นไม่ผ่านมาแล้วมากกว่า 1 ครั้ง
  1. H  ของแต่ละชุดวิชา มีค่า   4.00
  2. S  ของแต่ละชุดวิชา มีค่า   2.30
  1. นำจำนวนชุดวิชาที่สอบได้ลำดับขั้น  H  ทั้งหมดคูณด้วย  4.00
  2. นำจำนวนชุดวิชาที่สอบได้ลำดับขั้น  S  ทั้งหมดคูณด้วย  2.30
  3. นำผลคูณจากข้อ 1 และ 2 รวมกัน  แล้วหารด้วยจำนวนชุดวิชาที่สอบได้ H และ S รวมกันออกมาเป็นเกรดเฉลี่ยสะสม
NA  หมายถึงผลสอบในชุดวิชานั้นยังไม่สมบูรณ์รอคะแนนภาคปฏิบัติซึ่งนักศึกษาจะต้องรอการแจ้งผลการสอบที่สมบูรณ์อีกครั้ง
  1. ให้โทรศัพท์สอบถามไปยังศูนย์ข้อมูลทะเบียนและบริการนักศึกษา  เพื่อจะได้ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นหรือ
  2. ยื่นคำร้องถึงสำนักทะเบียนและวัดผล  พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการลงทะเบียน  เพื่อสำนักทะเบียนและวัดผลจะได้ดำเนินการตรวจสอบ
ให้นักศึกษายื่นคำร้องถึงสำนักทะเบียนและวัดผลทันทีที่ได้รับผลการสอบโดยระบุชุดวิชา  สนามสอบ  วันและเวลาที่เข้าสอบ  เพื่อจะได้ดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอตรวจสอบผลการสอบหรือขอทราบคะแนนผลการสอบไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลได้ภายใน  90  วัน  นับจากวันเสร็จสิ้นการสอบของแต่ละภาคการศึกษานั้นๆ  พร้อมแจ้งปี/ภาคการศึกษาและชุดวิชาที่จะขอตรวจสอบให้ชัดเจน ทั้งนี้นักศึกษาสามารถ download คำร้องขอตรวจสอบผลการสอบได้จาก website ของมหาวิทยาลัย  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp
ภาคการศึกษาพิเศษไม่มีการสอบซ่อม  หากนักศึกษาไม่ได้เข้าสอบหรือสอบไม่ผ่านผลการสอบจะเป็นลำดับขั้น U และจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
  1. นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาใดเป็นครั้งแรก  หากไม่ได้เข้าสอบจะได้ผลการสอบเป็นลำดับขั้น  I  ซึ่งนักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียนสอบซ่อมชุดวิชาดังกล่าวในภาคการศึกษานั้นๆ  และผลการสอบที่ได้รับจะไม่มีเครื่องหมาย  *  กำกับ
  2. หากนักศึกษาไม่ได้เข้าสอบซ่อม  ผลการสอบจะเปลี่ยนจาก  I  เป็น  U  และเมื่อนักศึกษาลงทะเบียนเรียนใหม่  ผลการสอบที่ได้จะมีเครื่องหมาย  *  กำกับอยู่ด้วย
มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนซ้ำชุดวิชาเพื่อยกระดับคะแนนให้สูงขึ้นและในระบบการลงทะเบียนเรียนจะไม่รับลงทะเบียนเรียนชุดวิชาที่สอบผ่านแล้ว
  1. ยื่นคำร้องขอใบรายงานผลการศึกษา (ตรวจสอบผลการเรียน) ตามแบบฟอร์ม มสธ 30 พร้อมจัดส่งรูปแต่งกายสุภาพขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป และชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาท ซึ่งสามารถดาวน์โหลด มสธ 30 ได้ที่ website http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp
  2. ลงทะเบียนขอตรวจสอบประวัติผลการเรียนได้ที่ website https://regis.stou.ac.th/STOU/login.jsp โดยนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนใช้ระบบก่อน (ผู้ที่ขอตรวจสอบได้จะต้องมีสถานภาพนักศึกษาในปัจจุบัน)

        สำนักทะเบียนและวัดผลจะจัดส่งเอกสารขอสำเร็จการศึกษา  (มสธ 10)  พร้อมคำชี้แจงให้นักศึกษาทุกคนที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา เมื่อนักศึกษาได้รับ มสธ 10  แล้วให้กรอกรายละเอียดแล้วจัดส่งไปยังมหาวิทยาลัยพร้อมกับรูปถ่ายสวมชุดครุย ขนาด 1 นิ้วจำนวน 7 รูปหลังจากที่ทราบผลการสอบภาคการศึกษาสุดท้ายแล้ว ดังนี้

         1. ภาคต้น  จะจัดส่งมสธ 10 ประมาณเดือนมกราคม

         2. ภาคปลาย  จะจัดส่งมสธ 10 ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม

         3. ภาคการศึกษาพิเศษ จะจัดส่งมสธ 10 ประมาณเดือนตุลาคม

หลังจากประกาศผลการสอบแต่ละภาคการศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยจะตรวจสอบรายชื่อผู้ที่สำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานั้น ๆ เพื่อส่งรายชื่อเข้าสภามหาวิทยาลัยอนุมัติปริญญาและหลังจากสภามหาวิทยาลัยอนุมัติปริญญาแล้วสำนักทะเบียนและวัดผลจะจัดส่งหนังสือรับรองสำเร็จ (มสธ14) การศึกษาพร้อมใบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต (มสธ. 16) ให้นักศึกษา

ระหว่างรอสภามหาวิทยาลัย หากนักศึกษาต้องการหนังสือรับรองในขั้นต้น สามารถยื่นคำร้องขอรับหนังสือรับรองสอบผ่านครบตามโครงสร้างหลักสูตร (มสธ 13) ได้ โดยยื่นคำร้องตามแบบ มสธ. 30/1  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป พร้อมชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 50 บาท เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการแล้วจะจัดส่งให้นักศึกษาต่อไป

หมายเหตุ มสธ 30/1 จะอยู่ในเอกสารขอสำเร็จการศึกษา มสธ 10 โดยสามารถยื่นขอ มสธ 13 ไปพร้อมกับเอกสาร มสธ 10 ได้

นักศึกษาจะต้องขึ้นทะเบียนบัณฑิตหลังจากที่มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้สำเร็จการศึกษา (ระดับปริญญาตรี) แล้ว โดยมหาวิทยาลัย จะส่งใบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต (มสธ 16) ไปให้นักศึกษาพร้อมกับหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษา (มสธ 14) และเมื่อนักศึกษาได้รับแล้ว ขอให้ชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 800 บาท ณ ที่ทำการไปรษณีย์ด้วยบริการ Pay at Post  
ให้นักศึกษากรอกรายละเอียดต่างๆ  ในใบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต  (มสธ 16) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนบัณฑิต  จำนวน  800  บาท
  1. สอบผ่านชุดวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างหลักสูตรภายในกำหนดเวลาของหลักสูตร
  2. ไม่เคยสอบได้คะแนนลำดับขั้น  U  ในชุดวิชาใดตลอดหลักสูตร
  3. ไม่เคยเรียนซ้ำชุดวิชาใดเพื่อยกระดับคะแนน
  4. มีชุดวิชาสะสมของลำดับขั้น  H  เป็นจำนวนตั้งแต่สามในสี่ขึ้นไปของชุดวิชาในหลักสูตรทั้งหมด
  5. นักศึกษาที่ได้รับการเทียบงานรายวิชาหรือโอนชุดวิชาไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม
  1. สอบผ่านชุดวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างหลักสูตรภายในกำหนดเวลาของหลักสูตร
  2. ไม่เคยสอบได้คะแนนลำดับขั้น  U  ในชุดวิชาใดตลอดหลักสูตร
  3. ไม่เคยเรียนซ้ำชุดวิชาใดเพื่อยกระดับคะแนน
  4. มีชุดวิชาสะสมของลำดับขั้น  H  เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของชุดวิชาสะสมทั้งหมด
  5. นักศึกษาที่ได้รับการเทียบงานรายวิชาหรือโอนชุดวิชาไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม
นักศึกษาที่จะขอรับอนุปริญญาในสาขาวิชาที่ไม่มีหลักสูตรอนุปริญญาโดยเฉพาะจะต้องสอบได้ชุดวิชาบังคับไม่น้อยกว่าสามในสี่ของชุดวิชาบังคับที่กำหนดไว้ในหลักสูตรปริญญาตรีที่ตนจะขอรับอนุปริญญา โดยไม่รวมชุดวิชาเลือกเสรี
  1. ยื่นคำร้องแจ้งความจำนงเพื่อขอรับอนุปริญญา
  2. เมื่อมหาวิทยาลัยได้รับคำร้องเพื่อขอใบคำร้องขอรับอนุปริญญาแล้ว จะพิจารณาผลการเรียน หากอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถออกอนุปริญญาได้จะจัดส่ง มสธ 10 ให้นักศึกษา
  3. เมื่อได้รับใบคำร้องขอรับอนุปริญญา  มสธ  10  แล้วให้กรอกรายละเอียด  ต่างๆ  ให้ชัดเจน
  4. ส่งใบคำร้องขอรับอนุปริญญา  มสธ  10  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายขนาด  1  นิ้ว จำนวน  4  รูป  ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษาฉบับละ  50  บาท  ค่าใบรายงานผลการศึกษาฉบับละ  50  บาท  และค่าขึ้นทะเบียนอนุปริญญา  200  บาท
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ และมีอำนาจให้ปริญญา  อนุปริญญา  และประกาศนียบัตร  ที่มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ของรัฐ ซึ่งหลักสูตรที่เปิดสอนทุกหลักสูตรได้รับการรับรองจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)  แต่นักศึกษาจะใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวในการปรับวุฒิได้หรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับหน่วยงานต้นสังกัดของนักศึกษาโดยตรง

สภามหาวิทยาลัยจะอนุมัติสำเร็จการศึกษาให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาตามช่วงระยะเวลาดังนี้

         ภาคต้น      (สอบไล่)                   ปลายเดือนมิถุนายน

                       (สอบซ่อม)                  ปลายเดือนสิงหาคม -  กันยายน

        ภาคปลาย   (สอบไล่)                    ปลายเดือนธันวาคม

        (สอบซ่อม - ภาคการศึกษาพิเศษ)    ปลายเดือนกุมภาพันธ์

สามารถยื่นคำร้องขอใบรายงานผลการศึกษา (มสธ 15) ฉบับใหม่ได้ โดยยื่นคำร้องตามแบบ มสธ. 30/2 ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป พร้อมชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาท เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการแล้วจะจัดส่งให้นักศึกษาต่อไป

หมายเหตุ  สามารถดาวน์โหลดใบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา มสธ 30 ผ่านทาง website http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp


สามารถยื่นคำร้องขอใบรายงานผลการศึกษา (มสธ 15) ฉบับภาษาอังกฤษได้ โดยยื่นคำร้องตามแบบ มสธ. 30/2 ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป พร้อมชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาท เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการแล้วจะจัดส่งให้นักศึกษาต่อไป

หมายเหตุ  สามารถดาวน์โหลดใบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา มสธ 30 ผ่านทาง website http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp


  1. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาใดหรือรุ่นใด จะต้องเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรตามรุ่นปีที่สำเร็จการศึกษา ตามกำหนดการที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในแต่ละรุ่นโดยจะขอเข้ารับพระราชทานพร้อมรุ่นปีการศึกษาอื่น ๆ ไม่ได้
  2. นักศึกษากรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ตามวัน เวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  ขอให้รอรับใบปริญญาบัตรทางไปรษณีย์ ซึ่งสำนักทะเบียนและวัดผลจะจัดส่งให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้หลังจากพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 1 เดือน


ในกรณีของบัณฑิตที่มีสถานภาพเป็นภิกษุอยู่นั้น  มหาวิทยาลัยจะอำนวยความสะดวกให้โดยการส่งปริญญาบัตรไปให้ทางไปรษณีย์หลังจากเสร็จสิ้นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแล้วประมาณ 45 วัน  หากไม่ได้รับ ขอให้ติดต่อไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลโดยตรง  กรณีมหาบัณฑิตขอให้ติดต่อไปยังสำนักบัณฑิตศึกษา
บัณฑิตที่รับราชการพยาบาล ให้แต่งชุดเครื่องแบบปกติขาว หรือแต่งชุดเสื้อพระราชทาน หรือเสื้อชุดไทยแขนยาว สีขาว  ส่วนบัณฑิตที่ประกอบวิชาชีพพยาบาลเอกชนต้องแต่งชุดเสื้อพระราชทานหรือเสื้อชุดไทยแขนยาว สีขาว ตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดเท่านั้น ดังตัวอย่างการแต่งกายในจดหมายข่าวบัณฑิต
บัณฑิตที่ได้แจ้งเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุล หลังจากวันอนุมัติปริญญา  ในใบปริญญาบัตรจะเป็นชื่อ - ชื่อสกุลเดิม  แต่ถ้าได้รับการตอบรับจากสำนักทะเบียนและวัดผลว่าได้เปลี่ยนให้แล้วก่อนวันอนุมัติปริญญา ในใบปริญญาบัตรจะเป็นชื่อ - ชื่อสกุล ตามที่เปลี่ยนใหม่  ทั้งนี้หากบัณฑิตท่านใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงยศ  คำนำหน้าชื่อ - ชื่อ - ชื่อสกุล หรือที่อยู่ ต้องแจ้งโดยด่วนก่อนการอนุมัติปริญญา  หลังจากอนุมัติปริญญาแล้วมหาวิทยาลัยจะไม่เปลี่ยนแปลงยศ  คำนำหน้าชื่อ - ชื่อ - ชื่อสกุล  และในปริญญาบัตรจะยังคงใช้ตามเดิมตามที่บัณฑิตแจ้งขออนุมัติปริญญา  สำหรับการขานชื่อในขณะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรนั้น มหาวทิยาลัยจะแก้ไขเฉพาะยศ และคำนำหน้าชื่อให้เท่านั้น ส่วนชื่อและชื่อสกุลจะไม่เปลี่ยนแปลงให้  โดยขอให้บัณฑิตที่ประสงค์จะแก้ไขยศและคำนำหน้าชื่อ (เช่น นางสาว  เป็น นาง)  ในเวลาขานชื่อแจ้งขอเปลี่ยนแปลงต่อเจ้าหน้าที่รับแจ้งปัญหาในวันฝึกซ้อมย่อยด้วย เพื่อจะได้นำมาแก้ไขในใบขานชื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อไป
สามารถเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ แต่ต้องเข้ารับการฝึกซ้อมย่อยและซ้อมใหญ่ตามกำหนดวันที่มหาวิทยาลัยแจ้งให้ทราบในคู่มือการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร  และควรแจ้งให้สำนักวิชาการทราบถึงการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของบัณฑิต
ไม่ได้  บัณฑิต/มหาบัณฑิตทุกท่านที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต้องเข้ารับการฝึกซ้อมย่อยและฝึกซ้อมใหญ่ ตามวันเวลาที่กำหนด  ถ้าขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง จะถูกตัดชื่อออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และบัณฑิต/มหาบัณฑิต  จะต้องเข้ารับการฝึกซ้อมย่อย ฝึกซ้อมใหญ่ และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรด้วยตนเองเท่านั้น  จะให้ผู้อื่นเข้าแทนไม่ได้
กรณีดังกล่าวสามารถนำบัตรประจำตัวนักศึกษาไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่จุดรับแจ้งปัญหา ในวันที่บัณฑิตมารับการฝึกซ้อมย่อยที่มหาวิทยาลัยได้

ขอให้ท่านไปแจ้งความเรื่องบัตรประจำตัวนักศึกษาสูญหายที่สถานีตำรวจท้องที่ที่บัตรประจำตัวสูญหาย  และขอให้ท่านนำใบแจ้งความที่ได้รับไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในวันรายงานตัวเข้ารับการฝึกซ้อมย่อย  และฝึกซ้อมใหญ่  พร้อมกับบัตรข้าราชการหรือบัตรประจำตัวประชาชน

บัณฑิตที่บัตรประจำตัวนักศึกษาหมดอายุหลังจากวันที่สำเร็จการศึกษาแล้ว  ไม่ต้องต่ออายุบัตรและสามารถนำบัตรนักศึกษาที่หมดอายุดังกล่าวมาแสดงตนพร้อมกับบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวประชาชนในวันรายงานตัวฝึกซ้อมย่อยได้

ให้ข้าราชการนอกประจำการใช้เครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการประจำ เว้นแต่ให้ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้ายและติดเครื่องหมายอักษร "นก" ซึ่งทำด้วยโลหะโปร่ง สีทอง ไม่มีขอบสูง 2 ซม. ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2536
ตามเกณฑ์ที่กรมตำรวจกำหนดผู้ที่แต่งชุดปกติขาวได้ จะต้องมียศตั้งแต่ชั้นจ่าสิบตำรวจขึ้นไป โดยต้องคาดกระบี่ตามชั้นยศทุกคน ดังนั้นกรณีที่บัณฑิตมียศสิบตำรวจโทจึงไม่มีสิทธิแต่งกายชุดปกติขาว และขอให้ชุดเสื้อพระราชทานแขนยาว สีขาว กางเกงสีขาว ตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด 

การขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา นักศึกษาสามารถดำเนินการได้โดยการยื่นคำร้องตามแบบฟอร์ม มสธ30/2  พร้อมชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 50 บาทและแนบสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปัจจุบันไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล เพื่อดำเนินการต่อไป

หมายหตุ  สำหรับหนังสือรับรองกรณีอื่น ๆ ขอให้นักศึกษายื่นคำร้องพร้อมชี้แจงรายละเอียดไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาเป็นเฉพาะกรณี

1.ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
  • ผู้ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ทุกคนต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า  800 บาท  ยกเว้นผู้สมัครที่มีอายุ  60  ปีขึ้นไปนับถึงวันที่  1  กรกฎาคม  ของปีการศึกษาที่สมัครเข้าศึกษา  จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า

2. ค่าบำรุงการศึกษา

 

  •    ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2559 เป็นต้นไป ทุกรหัสประจำตัวนักศึกษาจะต้องชำระค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 500 บาท   
  • สำหรับนักศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนปีการศึกษา 2556 หากมีการชำระค่าบำรุงการศึกษาย้อนหลัง สามารถชำระค่าบำรุงการศึกษาภาคการศึกษาละ 300 บาท ได้จนถึงภาคการศึกษาที่ 2/2558  เท่านั้น

 

3. ค่าชุดวิชา
   • นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียน  หรือลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา  ต้องชำระค่าชุดวิชา ชุดวิชาละ  300  บาท

4. ค่าวัสดุการศึกษา
    • นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนในชุดวิชาใดเป็นครั้งแรก ต้องชำระค่าวัสดุการศึกษา ชุดวิชาละ 700 บาท ยกเว้นชุดวิชาที่มีวัสดุเพิ่มเติม หรือชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือการลงทะเบียนของแต่ละภาคการศึกษา

5.  ค่าลงทะเบียนสอบซ่อม
    • นักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบซ่อมต้องชำระค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนสอบซ่อม ชุดวิชาละ  200  ยกเว้นชุดวิชาที่ต้องลงทะเบียนสอบซ่อมภาคปฏิบัติให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก คำชี้แจงการลงทะเบียนสอบซ่อม

6. ค่าธรรมเนียมการออกบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
  • นักศึกษาที่ขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่กรณีเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุลต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกบัตรใหม่ครั้งละ  100  บาท

7. ค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงประวัติการศึกษา 100 บาท
   • นักศึกษาที่ต้องการเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล เปลี่ยนสาขาวิชา/วิชาเอก สามารถชำระค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวได้ตลอดหลักสูตร  

8.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
  • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

9.ค่าธรรมเนียมการออกใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)
  • นักศึกษาที่ประสงค์จะขอใบรายงานผลการศึกษา (กรณีไม่สำเร็จการศึกษา)  หรือนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และขอใบรายงานผลการศึกษาฉบับที่ 2 เป็นต้นไป  ต้องชำระค่าธรรมเนียม ฉบับละ 50 บาท

10.ค่าธรรมเนียมการต่ออายุสถานภาพนักศึกษา
    • นักศึกษาที่มีสิทธิในการต่ออายุสถานภาพนักศึกษาเมื่อยื่นคำร้องขอต่ออายุสถานภาพ
นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียม  300  บาท

11.ค่าธรรมเนียมบัณฑิต
    • นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกคนต้องชำระค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตคนละ  800  บาท

12. ค่าธรรมเนียมใบรับรองอนุปริญญา
      • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา  ถ้าต้องการใบรับรองต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

13. ค่าธรรมเนียมใบรายงานผลการศึกษาอนุปริญญา
     • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา ถ้าต้องการใบรายงานผลการศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

14. ค่าธรรมเนียมใบแปล ใบรับรองการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
     • นักศึกษาที่ต้องการใบรับรองเป็นภาษาอังกฤษต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ 50  บาท

15. ค่าธรรมเนียมใบแปลใบปริญญาบัตรเป็นภาษาอังกฤษ
     • นักศึกษาที่ต้องการใบปริญญาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

16. ค่าธรรมเนียมใบแทนใบปริญญาบัตร  ประกาศนียบัตร  สัมฤทธิบัตร
    • นักศึกษาที่ทำใบปริญญาบัตร  ประกาศนียบัตร  หรือสัมฤทธิบัตรที่มหาวิทยาลัยออกให้
สูญหายและต้องการให้มหาวิทยาลัยออกใบแทนให้ใหม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

17. ค่าธรรมเนียมใบรับรองอื่นๆ
    • ถ้านักศึกษาต้องการใบรับรองที่ไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมไว้เฉพาะนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

18. ค่าธรรมเนียมใบสัมฤทธิบัตรกรณีพิเศษ
     • นักศึกษาที่ได้ลงทะเบียนและสอบผ่านหลังจากที่ได้พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว และต้องการให้มหาวิทยาลัยออกใบสัมฤทธิบัตรกรณีพิเศษให้ นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกสัมฤทธิบัตรฉบับละ  50  บาท

19. ค่าธรรมเนียมคำอธิบายชุดวิชา รายวิชา
     • นักศึกษาที่ต้องการคำอธิบายชุดวิชา หรือรายวิชา ต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ 50  บาท

20. ค่าธรรมเนียมการคัดลอกเอกสารสำคัญ
     • นักศึกษาที่ต้องการถ่ายสำเนาเอกสารสำคัญต่างๆ  ของนักศึกษาที่สำนักทะเบียนและ
วัดผล ได้จัดเก็บไว้ในไมโครฟิล์มนักศึกษาต้องชำระค่าถ่ายสำเนาฉบับละ  10  บาท

21. ค่าธรรมเนียมการรับรองสำเนาถูกต้อง
      • นักศึกษาที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยรับรองสำเนาเอกสารสำคัญต่างๆ  ที่มหาวิทยาลัยได้ออกให้นักศึกษาไปแล้วนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  10  บาท

22. ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนอนุปริญญา
     • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเมื่อมหาวิทยาลัยพิจารณาให้สำเร็จ
การศึกษาแล้วต้องชำระค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนอนุปริญญาคนละ  200  บาท

23.ค่าธรรมเนียมค่าขอโอนชุดวิชา
    • การขอโอนชุดวิชา นักศึกษาจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการขอโอนชุดวิชา ชุดวิชาละ 200 บาท

24.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองโครงการกู้ยืมเงินของธนาคารกรุงไทย (กยศ.204)
   • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองโครงการกู้ยืมเงินของธนาคารกรุงไทย ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

25.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาองค์การทหารผ่านศึก (กสก.2)
   • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาองค์การทหารผ่านศึก ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

กรณีที่นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ลาออกจากการเป็นนักศึกษาแล้ว  ถือว่านักศึกษาได้สิ้นสุดสถานภาพการเป็นนักศึกษา ถ้าประสงค์จะศึกษาต่อต้องดำเนินการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษาต่อไป  และภายหลังจากได้รับตอบรับเป็นนักศึกษาใหม่แล้ว สามารถยื่นคำร้อง ขอโอนชุดวิชาที่เคยสอบผ่านจากหลักสูตรเดิมและมีในหลักสูตรใหม่ได้ทุกชุดวิชาโดยดำเนินการได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษาเป็นต้นไป
  1. ถ้านักศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาต่อ ให้ดำเนินการลาพักการศึกษาย้อนหลังในภาคการศึกษาที่ได้รับแจ้ง และรอลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาต่อไป
  2. หากไม่ประสงค์ที่จะศึกษาต่อ ให้นักศึกษาแจ้งลาออกจากการเป็นนักศึกษา และสามารถสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ในโอกาสต่อไปได้
  1. หลักสูตร 1 ปี มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 3 ปี
  2. หลักสูตร 2 ปี มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 6 ปี  (นักศึกษาที่ศึกษาหลักสูตรมากกว่า 15 ชุดวิชา จะได้รับการอนุญาตให้ศึกษาได้ภายในระยะเวลา  7  ปีการศึกษา)
  3. หลักสูตร 3 ปี  มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 9 ปี
  4. หลักสูตร 4 ปี มีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตร 12 ปี

หมายเหตุ นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาในภาคปลายของปีการศึกษา ให้นับระยะเวลาครบ  3 เท่า  ในภาคการศึกษาต้นของปีการศึกษาถัดไปหลังจากครบกำหนดการศึกษา  3  เท่าของปีการศึกษาที่เข้าสมัคร

มหาวิทยาลัยจะมีหนังสือแจ้งนักศึกษาที่ใช้เวลาครบ 3 เท่าของหลักสูตรและนักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอต่ออายุสถานภาพนักศึกษาได้อีก 1 ปีการศึกษา
  1. ยื่นเรื่องเพื่อขอคำร้องต่ออายุสถานภาพนักศึกษา (มสธ 25)  ไปยังสำนักทะเบียน และวัดผล หรือ Download จาก website ของมหาวิทยาลัย
  2. เมื่อได้รับคำร้อง มสธ 25 แล้วให้กรอกรายละเอียดพร้อมชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุสถานภาพนักศึกษาจำนวน 300 บาท ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลภายใน 45 หลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งจากมหาวิทยาลัย
หากนักศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาต่อ  ให้นักศึกษาสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ตามขั้นตอนการสมัครเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่โดยทั่วไป และภายหลังจากได้รับการตอบรับการเป็นนักศึกษาใหม่แล้ว สามารถยื่นคำร้องขอโอนชุดวิชาที่สอบผ่านจากหลักสูตรเดิมและมีอยู่ในหลักสูตรใหม่ได้ทุกชุดวิชา ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษาเป็นต้นไป
ญาติจะต้องแจ้งการเสียชีวิตของนักศึกษาพร้อมแนบสำเนาใบมรณบัตรไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อดำเนินการด้านงานทะเบียนประวัตินักศึกษาตามขั้นตอนต่อไป
นักศึกษาที่สมัครตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยกำหนดหลักเกณฑ์ระยะเวลาการศึกษาของการควบรวมหลักสูตร 4 ปี โดยกำหนดโครงสร้างหลักสูตรจากจำนวนชุดวิชาและระยะเวลาที่ต้องศึกษาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัคร ทั้งนี้นักศึกษาสามารถตรวจสอบระยะเวลาการศึกษาควบรวมหลักสูตรและระยะเวลาการศึกษาที่จะอยู่ในเกณฑ์การได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ดังนี้

ตาราง หลักเกณฑ์ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตรระดับปริญญาตรี(4 ปี)

 

รายละเอียดระยะเวลาการศึกษา (ปี) หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวน

(1)

(2)

(3)

(4)

(5)

ชุดวิชาที่

ระยะเวลา

ระยะเวลา

ระยะเวลา

ระยะเวลา

รวมระยะเวลาการ

ศึกษา

การศึกษา

การได้รับเกียรตินิยม

การศึกษา 3 เท่าฯ

ต่ออายุสถานภาพ

ศึกษาที่อยู่ในระบบ

 

(ปี)

(ปี)

(ปี)

นักศึกษา

(ปี)

= (3)+(4)

(ปี)

5 - 6

1

 

3

1

4

12

2

2

6

1

7

13 – 15

2.5

2.5

7.5

1

8.5

16 - 18

3

3

9

1

10

19 – 21

3.5

3.5

10.5

1

11.5

22 - 26

4

4

12

1

13


ภาคต้น        สมัครสอบประมาณกลางเดือนกันยายน ถึงกลางเดือนธันวาคม

      ภาคปลาย       สมัครสอบประมาณกลางเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนมิถุนายน
นักศึกษาจะต้องกรอกใบสมัครทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยที่ www.stou.ac.th ภายใต้หัวข้อบริการนักศึกษา เลือกปริญญาตรี จะปรากฏหัวข้อต่างๆ มองไปที่การสอบและคลิกที่สมัครสอบตามความพร้อมของนักศึกษารายบุคคลด้วยคอมพิวเตอร์ (Walk-in Exam)

ภาคต้น       กำหนดสอบเสาร์-อาทิตย์ตลอดเดือนธันวาคม

ภาคปลาย    กำหนดสอบเสาร์-อาทิตย์ตลอดเดือนมิถุนายน

ค่าธรรมเนียมการขอสอบชุดวิชาละ 300 บาท ชำระโดยตัดบัญชี KTB online หรือชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ทั่วประเทศ

ณ  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 6-8 ชั้นลอย และ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ณ  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. เพชรบุรี  นครสวรรค์  อุดรธานี  จันทบุรี  นครศรีธรรมราช ลำปาง อุบลราชธานี  สุโขทัย  ยะลา  และนครนายก (จัดเฉพาะวันอาทิตย์)

หมายเหตุ  นักศึกษาสามารถเลือกสถานที่สอบได้พร้อมกับการสมัครทางอินเทอร์เน็ต www.stou.ac.th ภายใต้หัวข้อบริการนักศึกษา เลือกปริญญาตรี จะปรากฏหัวข้อต่างๆ มองไปที่การสอบและคลิกที่สมัครสอบตามความพร้อมของนักศึกษารายบุคคลด้วยคอมพิวเตอร์ (Walk-in Exam)