หน้าแรกสำนักวิชาการ  |  หน้าแรกมสธ.

 

ยินดีต้อนรับ
ผลการประเมินองค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2
 
ภาวะผู้นําของผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน (สกอ. 7.2) *
(ประเมินภาพรวมในระดับมหาวิทยาลัย และใช้ผลการประเมินของมหาวิทยาลัยเป็นผลการประเมินของหน่วยงาน)
  เกณฑ์มาตรฐาน
ปิดเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมดl | เปิดเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด
  1. มีกระบวนการสรรหาผู้บริหารที่เป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี กระบวนการสรรหาผู้บริหารที่เป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ในการสรรหา
ผู้บริหารทุกระดับ โดยมีแนวทางสรุปได้ ดังนี้
1.
การสรรหาระดับอธิการบดี ให้ทุกหน่วยงานได้เสนอชื่อที่เหมาะสม
  และมีคณะทำงานที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งในรูปคณะกรรมการสรรหา
  โดยมีการให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อและผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาคม มสธ.
2.
การสรรหาระดับประธานกรรมการประจำสาขาวิชา ให้คณาจารย์
  ในสาขาวิชา ได้เสนอชื่อต่อที่ประชุม โดยใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก
  และมีคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของคณาจารย์ประจำสาขาวิชา
  (ไม่รวมผู้ลาศึกษาต่อ)
3.
การสรรหาระดับกรรมการประจำสาขาวิชาให้คณาจารย์ในสาขาวิชา
ได้เสนอชื่อต่อที่ประชุมโดยใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก (ไม่รวมผู้ลาศึกษาต่อ)
4.
การสรรหาผู้อำนวยการสถาบัน / สำนัก ใช้วิธีเวียนแจ้งให้ผู้สนใจสามารถ
สมัครเข้ารับการคัดเลือก และให้หน่วยงานเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสม
มีการตั้งคณะทำงานสรรหาขึ้นมาทำหน้าที่คัดเลือก
5.
การสรรหาผู้อำนวยการศูนย์วิทยพัฒนา ใช้วิธีเวียนแจ้งให้ผู้สนใจสามารถ
สมัครเข้ารับการคัดเลือก มีการตั้งคณะทำงานสรรหาขึ้นมาทำหน้าที่คัดเลือก
6.
การสรรหาหัวหน้าศูนย์ / ฝ่าย / งาน ใช้การประกาศรับสมัครภายใน
มหาวิทยาลัย และมีการตั้งคณะทำงานคัดเลือก โดยที่ประชุม ก.พ.อ. มสธ
มสธ. / กจ. 7.2-1 (1)
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราชว่าด้วยการสรรหา
  อธิการบดี
มสธ. / กจ. 7.2-1 (2) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ว่าด้วยหลักเกณฑ์
  และวิธีการเกี่ยวกับเลือกประธานกรรมการประจำสาขาวิชา
  และกรรมการประจำสาขาวิชา พ.ศ. 2543 และที่แก้ไข
  เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544
มสธ. / กจ. 7.2-1 (3) ประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เรื่องหลักเกณฑ์
  และวิธีการเเลือกประธานกรรมการประจำสาขาวิชาและ
  กรรมการประจำสาขาวิชา ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2549
มสธ. / กจ. 7.2-1 (4) ประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เรื่องหลักเกณฑ์
  และวิธีการคัดเลือกผู้อำนวยการสำนัก
  2. ผู้บริหารดําเนินการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลและใช้ศักยภาพภาวะผู้นําที่มีอยู่
โดยคํานึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี ผู้บริหารดำเนินการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลและใช้ศักยภาพภาวะผู้นำ
ที่มีอยู่ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของมหาวิทยาลัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทุกระดับ เช่น
หลักนิติธรรม ได้แก่ การบริหารงานโดยยึดตามเจตนารมณของกฎหมาย
  และข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ อย่างเคร่งครัด และยึดประโยชน์ส่วนรวม
  เป็นสำคัญ
หลักความโปร่งใส ได้แก่ มีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์
  ทั้งแก่บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างตรงไปตรงมา สะดวกและรวดเร็ว
  เช่น การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
 

ของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

 
ส่วนของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่บุคคลภายนอก ที่สำคัญ เช่น
1.
การเปิดเผยแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี
(พ.ศ. 2552 – 2556 ) โดยเผยแพร่ผ่านทาง
http://www.stou.ac.th
2.
การเปิดเผยแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยเผยแพร่ผ่านทาง
http://www.stou.ac.th
3.
การเปิดเผยคำรับรองการปฏิบัติราชการและผล
การปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองฯ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2552
4.
การเปิดเผยผลการประเมินการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2551
 
ส่วนของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่บุคคลภายใน ที่สำคัญ เช่น
1.
เปิดโอกาสรับฟังและเจรจาเรื่อง แผนปฏิบัติราชการ
และงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2552
2.
มีการเปิดเผยข้อมูลผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากร
ทุกหน่วยงานให้ได้รับทราบโดยปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
  และเปิดให้มีการทักท้วงและสามารถอุทธรณ์ตามระเบียบ
  ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
3.
มติที่ประชุมที่สำคัญ เช่น ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ที่ประชุมผู้บริหาร ที่ประชุม กพอ. ที่ประชุมสภาวิชาการ
  ผ่านทาง http://eservice.stou.ac.th
4.
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ต่างๆ ผ่านทาง
http://eservice.stou.ac.th
หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงาน
  มีส่วน ร่วมในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ เช่น
1.
มีการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนา มสธ.
ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556)
2.
มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน
3.
มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรในทุกหน่วยงานได้มีส่วนร่วม
  ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด
  ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์และแผนงาน/โครงการของหน่วยงานตนเอง
  เพื่อที่จะนำไปใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2556
4.
มีส่วนร่วมในกิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม เช่น วันปีใหม่

วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันลอยกระทง

5.
ให้บุคลากรแต่ละหน่วยงานมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์
  การจัดสรรเงินรางวัลประจำปี จากผลการประเมิน
  การปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ
หลักความรับผิดชอบและตรวจสอบได้ ได้แก่ การจัดทำรายงานผล
การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีเป็นรายไตรมาส มีการรายงานผล

การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีทั้งระดับ

  มหาวิทยาลัยและระดับหน่วยงานภาระความรับผิดชอบและตรวจสอบ
  ได้จากหน่วยงานภายนอกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.
การจัดทำรายงานประเมินตนเอง เพื่อการตรวจประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในปีการศึกษา 2551 มีการจัดทำรายงานผล
  การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี
  งบประมาณ 2552 รอบ 6, 9 และ 12 เดือน ระดับมหาวิทยาลัย
  ต่อสำนักงาน ก.พ.ร. การรายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
  ประจำปีงบประมาณ 2552 ต่อสำนักงบประมาณ ผ่านเครื่องมือ
  PART การรายงานการควบคุมภายในระดับมหาวิทยาลัย
  ประจำปีงบประมาณ 2552 ต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
  ภาระความรับผิดชอบ และตรวจสอบได้จากหน่วยงานภายใน
2.
ทุกหน่วยงานจะต้องมีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการ
  ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ รอบ 6, 9 และ 12 เดือน
และนำเสนอด้วยวาจาต่ออธิการบดี และรองอธิการบดี
3.
ทุกหน่วยงานต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหาร
  ความเสี่ยงของหน่วยงาน
4.
ทุกหน่วยงานมีการรายงานผลการปฏิบัติราชการ ประจำปี
  ทุกไตรมาส
5.
ทุกหน่วยงานมีการรายงานผลการควบคุมภายใน
  ระดับส่วนงานย่อย มีการรายงานผลกาตรวจสอบ
ของผู้ตรวจสอบภายใน
หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารงานโดยยึดหลักการรวมบริการ
ประสานภารกิจ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1.
ทุกหน่วยงานมีการจัดทำรายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ประจำปีเป็นรายไตรมาส ผ่านระบบ e-Unit Budget
2.
นำผลการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมาใช้
  ในการวิเคราะห์เพื่อจัดสรรงบประมาณทุกปีเพื่อให้เกิดการใช้
  งบประมาณอย่างคุ้มค่าสูงสุดต่อมหาวิทยาลัย โดยตามระบบ
  การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของมหาวิทยาลัย
  สุโขทัยธรรมาธิราช ได้มีการกำหนดตัวชี้วัด
ที่เป็นเชิงค่าใช้จ่าย / ต้นทุน
3.
การตัดสินใจด้านการเงินจะต้องผ่านความเห็นชอบจาก
  คณะกรรมการ นโยบายการเงินและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
  โดยมีตัวแทนที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยมาเป็นประธาน
  และมีผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นกรรมการ
4.
มีการจัดทำรายงานต้นทุนผลผลิต ประจำปีงบประมาณ 2552 และ
  นำผลที่ได้ไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพของ
ปีงบประมาณ 2553
5.
มีแผนบริหารทรัพยากรร่วมกันของทุกหน่วยงานภายใน
  มหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ 2552 (ตัวชี้วัด ก.พ.ร. 3.3)
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
http://www.stou.ac.th
http://eservice.stou.ac.th
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักและสถาบัน
พ.ศ. 2551 (ข้อ 9 ...การดำเนินงาน การกำกับ ดูแล
และการบริหารงานในสำนักและสถาบันต้องยึดหลัก
ธรรมาภิบาลในการบริหารงาน )
แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ฉบับรายละเอียดแผนงาน และโครงการ
(1 ตุลาคม 255 1– 30 กันยายน 2552 )
  3. มีกระบวนการประเมินศักยภาพและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ชัดเจน
และเป็นที่ยอมรับในมหาวิทยาลัย
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี กระบวนการประเมินศักยภาพและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในสถาบัน ดังนี้
การประเมินศักยภาพ มหาวิทยาลัยได้มีการประเมินศักยภาพผู้บริหาร
  ของมหาวิทยาลัย ดังนี้
1.

ระดับอธิการบดี ใช้การประเมินโดย Audit Committee

ที่แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย ระดับรองอธิการบดี ผู้อำนวยการ
สำนัก/สถาบัน ประธานกรรมการประจำสาขาวิชา ผู้อำนวยการกอง/
หัวหน้าศูนย์/ฝ่ายในสำนัก/สถาบัน และหัวหน้างานในกอง
โดยได้จัดทำแบบสอบถามภาวะผู้นำผู้บริหาร เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
ได้ประเมินผู้บังคับบัญชาในประเด็นต่างๆ และส่งคืนเป็นการลับ
และสรุปผลการประเมินเสนอที่ประชุมผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
ต่อไป เพื่อจะได้นำผลดังกล่าวไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพ
ของผู้บริหารต่อไป การประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรอง
การปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2552
2.
ระดับอธิการบดี มีการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
  ประจำปีงบประมาณ 2552 กับเลขาธิการ สกอ.
3.
ระดับรองอธิการบดี มีการลงนาม คำรับรองการปฏิบัติราชการ
  ประจำปีงบประมาณ 2552 กับอธิการบดี
4.
ระดับประธานกรรมการประจำสาขาวิชา ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน
  ผู้อำนวยการกอง / ศูนย์ มีการลงนาม คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ 2552 กับรองอธิการบดีที่กำกับดูแล
รายงานการประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรธิราช (นัดพิเศษ) ครั้งที่ 1 / 2553
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553
เอกสารลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ระดับมหาวิทยาลัย ระหว่างอธิการบดีกับเลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตัวอย่างเอกสารลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ระดับรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการกับอธิการบดี มสธ.
เอกสารลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
  ระดับหน่วยงาน ระหว่างผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน
  ผู้อำนวยการกอง / ศูนย์ กับรองอธิการบดีที่กำกับดูแล
ตารางสรุปผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง
  การปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน
  ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2552


4. มี การจัดทําแผนและกลไกการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารตามผลการประเมิน
และดําเนินการตามแผนอย่างครบถ้วน
การประเมินตนเอง
หลักฐานอ้างอิง
มี การจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2552 และมีการดำเนินงานตามแผนได้ครบถ้วน ประกอบด้วย

1.

การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
2.

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF)

3.
การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ 5 ปี ของหน่วยงานการควบคุมภายใน
แผนพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ประจำปีการศึกษา 2552
  คะแนนการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้
 
1 คะแนน
2 คะแนน
3 คะแนน
มีการดำเนินการ
ไม่ครบ 3 ข้อแรก
มีการดำเนินการ
3 ข้อแรก
มีการดำเนินการ
ครบทุกข้อ
  ผลการประเมิน
 
ปีงบประมาณ 2552
การบรรลุ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมิน
อิงเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้
ผลจากการประเมิน
ตนเอง
ผลจากการประเมิน
ของคณะผู้ประเมิน
ค่าเป้าหมาย
ครบ 4 ข้อแรก
3
3
ผลการดำเนินงาน
ครบทุกข้อ
* การบรรลุเป้าหมาย
= บรรลุเป้าหมาย
= ไม่บรรลุเป้าหมาย

จัดทำโดย
สำนักวิชาการ และ คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537