หน้าแรกสำนักวิชาการ  |  หน้าแรกมสธ.

ผลการประเมินจากคณะผู้ประเมิน
  ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหน่วยงานสนับสนุนของสำนักวิชาการ เป็นการประเมิน การดำเนินงานในปีการศึกษา 2550 เมื่อวันที่ 24 - 25 ธันวาคม 2551 โดยมีคณะผู้ประเิมินคุณภาพภายใน ดังนี้
1. ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี สังข์ศรี ประธานคณะผู้ประเมิน
2. รองศาสตราจารย์ชุษณะ รุ่งปัจฉิม ผู้ประเมิน
3. รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณ์ดี แสงประทีปทอง ผู้ประเมินและเลขานุการ
  สำหรับข้อมูลที่แสดงในการประเมินฯ ครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูล ด้านการจัดการเรียนการสอนใช้รอบเวลา ตามปีการศึกษา 2550 เป็นหลัก (1 กรกฎาคม 2549 - 30 มิถุนายน 2550) และข้อมูลด้านการบริหารจัดการ ใช้รอบเวลา ตามปีงบประมาณ 2550 เป็นหลัก (1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2550) มีผลการประเมินคุณภาพตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ในองค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบที่ 7 และองค์ประกอบที่ 9 ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 : ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 : มีการกําหนดปรัชญาหรือปณิธาน ตลอดจนมีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และมีการกำหนดแผนดำเนินงานและมีการกำหนดตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนให้ครบทุกภารกิจ (2,2)
ผลการประเมินตนเอง : 2
ผลการประเมินของกรรมการ : 2
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : มีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และแผนการดำเนินงานที่ดี เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : - การกำหนดจุดประสงค์ของสำนักค่อนข้างกว้าง ทำให้กำหนดแนวทางการดำเนินงานได้ยาก และการตรวจสอบผลการดำเนินงานจะทำได้ยากด้วย
- การกำหนดแผนการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ นอกจากพิจารณาความสอดคล้องกับภารกิจหลักของสถาบันแล้ว ควรพิจารณายุทธศาสตร์และแผนพัฒนาชาติด้วย
- ควรมีการพิจารณาผลการประเมินและนำมาพิจารณาพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป นอกจากนั้นอาจจะมีการทำวิจัย เพื่อพัฒนางานในด้านต่างๆ เพื่อให้ได้แนวทางใหม่ๆ
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 1.1
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 : ร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้หลักของการปฏิบัติงานที่กําหนด (3,3)
ผลการประเมินตนเอง : 3
ผลการประเมินของกรรมการ : 3
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : การติดตามผลและรายงานผลการดำเนินงานทุกไตรมาส
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : - การรายงานผลการดำเนินงาน ถ้าส่วนใดเป็นกิจกรรม ที่ทำร่วมกับหน่วยงานอื่น และเป็นงานหลักของหน่วยงานอื่น ควรเขียนหมายเหตุไว้ให้ชัดเจน เช่น สิ่งพิมพ์ ผลงานที่หายากที่ได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่จำนวน.........เรื่อง
- การเก็บหลักฐานการรายงานผลการดำเนินงาน ควรเก็บหลักฐานให้ครบถ้วน
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 1.2
คะแนนเฉลี่ยองค์ประกอบที่ 1 : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 2.50 [ดี] | ผลการประเมินของกรรมการ = 2.50 [ดี]
กลับขึ้นด้านบน
องค์ประกอบที่ 7 : การบริหารและการจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 : ภาวะผู้นําของผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน (3,1)
ผลการประเมินตนเอง : 3
ผลการประเมินของกรรมการ : 1
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : - ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสำนัก
- ผู้บริหารมีความพยายามที่ดีในการปรับปรุงการดำเนินงานของสำนัก
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : - ควรริเริ่มพัฒนากระบวนการประเมินศักยภาพและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ
- มีการจัดทําแผนและกลไกการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารตามผลการประเมิน และดําเนินการตามแผนอย่างครบถ้วน
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.2
ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 : มีการพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้ (3,3)
ผลการประเมินตนเอง : 3
ผลการประเมินของกรรมการ : 3
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : - สำนักให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้
- สำนักมีความพยายามที่ดีในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้
- การแก้ปัญหาบางอย่างในสำนักอาจพัฒนาให้เข้ามาสู่การจัดการความรู้ได้
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : - สำนักควรให้ความสำคัญและพัฒนาแนวทางในการได้มาซึ่ง tacit knowledge
- สำนักควรนําผลการประเมินไปปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนงานปกติและปรับปรุงแผนการจัดการความรู้
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.3
ตัวบ่งชี้ที่ 7.8 : มีการนําระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษาู้ (1,1)
ผลการประเมินตนเอง : 1
ผลการประเมินของกรรมการ : 1
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : -
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : - สำนักควรวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงตลอดจนจัดลําดับความสําคัญของปัจจัยเสี่ยง
- สำนักควรเร่งจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานตนเอง เพื่อให้เกิดการดําเนินการแก้ไขลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.8
ตัวบ่งชี้ที่ 7.9.1 : ร้อยละของบุคลากรประจำที่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในวิชาชีพทั้งในประเทศ และต่างประเทศ (สมศ 5.11) (3,3)
ผลการประเมินตนเอง : 3
ผลการประเมินของกรรมการ : 3
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : บุคลากรของสำนักมีโอกาสได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะอย่างทั่วถึง
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : สำนักควรพิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรของสำนักให้ชัดเจน (ขึ้นกับทิศทางของมหาวิทยาลัย)
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.9.1
คะแนนเฉลี่ยองค์ประกอบที่ 7 : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 2.00 [พอใช้ี] | ผลการประเมินของกรรมการ = 1.60 [พอใช้ี]
กลับขึ้นด้านบน
องค์ประกอบที่ 9 : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 : มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา (3,3)
ผลการประเมินตนเอง : 3
ผลการประเมินของกรรมการ : 3
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : - คณะผู้บริหารให้ความสำคัญกับงานประกันคุณภาพและมีผู้รับผิดชอบดำเนินการ
- มีการนำผลการประเมินมาพัฒนางาน
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : - จัดทำระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุน การประกันคุณภาพที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย
- ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านการประกัน คุณภาพกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสำนัก
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 9.1
ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 : ระดับความสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (3,3)
ผลการประเมินตนเอง : 3
ผลการประเมินของกรรมการ : 3
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : - มีการดำเนินการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนางาน
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : จัดทำระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 9.3
คะแนนเฉลี่ยองค์ประกอบที่ 9 : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 3.00 [ดีมาก] | ผลการประเมินของกรรมการ = 3.00 [ดีมาก]
กลับขึ้นด้านบน
คะแนนรวมเฉลี่ยตัวบ่งชี้ : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 2.33 [ดี] | ผลการประเมินของกรรมการ = 2.11 [ดี]
ตัวบ่งชี้ตามภารกิจหน่วยงาน
ตัวบ่งชี้ที่ สว.9.0.5 : มีโครงการหรือกิจกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนซึ่งบุคคล องค์กร และชุมชนภายนอกมีส่วนร่วม (สกอ 2.3)(3,1)
ผลการประเมินตนเอง : 3
ผลการประเมินของกรรมการ : 1
จุดเด่น หรือ แนวปฏิบัติที่ดี : มีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โอกาสพัฒนาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข : สำนักวิชาการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มิใช่หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน ดังนั้น การดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานข้อ 2 – 5 จึงเป็นไปได้ยาก การดำเนินการอยู่ที่สาขาวิชา
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 9.0.5
คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้ตามภารกิจ : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 3.00 [ดีมาก] | ผลการประเมินของกรรมการ = 1.00 [ไม่ได้คุณภาพ]
กลับขึ้นด้านบน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะผู้ประเมินในภาพรวม
ข้อเสนอแนะต่อสำนักวิชาการ
1.สำนักอาจพิจารณาเสนอตัวบ่งชี้ที่จะสะท้อนงานของสำนัก/หน่วยงานให้มากขึ้น สำนักมีงานทางวิชาการอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อประเมินบางงานไม่ได้รับการสะท้อน
2.สำนักควรเร่งพัฒนาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่ปรากฏอยู่ในอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
3.สำนักควรพิจารณาปรับปรุงแนวทางในการจัดการความรู้ของสำนัก ที่มุ่งเน้นยัง tacit knowledge และการนำผลการดำเนินการจัดการความรู้มาใช้ในการปรับกระบวนงาน
4.สำนักควรมีแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่สำนักมี เช่น จากบุคลากร จากการปฏิบัติงาน จากสารสนเทศต่างๆ ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนัก ฯลฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสำนักและมหาวิทยาลัย เช่น
- สำนักงานเลขานุการ ได้แก่ กรณีกิตติเมธี การจัดการความรู้
- ฝ่ายตำรา ได้แก่ การเผยแพร่ต่อสาธารณะบนหน้าเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย การพัฒนาความชำนาญการเรื่องการจัดการด้านลิขสิทธิ์ และ impact factor
- ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน ได้แก การเป็นกลไกในการพัฒนาหลักสูตรยุคใหม่ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของ สกอ.
- ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ ได้แก่ การสังเคราะห์องค์ความรู้จากโครงการ มสธ 12 ปี
5.การวิจัย สำนักควรมีการวิจัยทั้งวิจัยในงาน ติดตามงาน และวิจัยองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนางาน
6.เรื่องการเก็บหลักฐาน เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ ควรมีการเก็บหลักฐานให้ครบถ้วน สำหรับแสดงให้เห็นการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้
ข้อเสนอแนะต่อมหาวิทยาลัย
1.การประเมินคุณภาพภายในของสำนัก โดยเฉพาะการกำหนดตัวบ่งชี้ยังไม่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิสัยทัศน์และการดำเนินงานตามภารกิจของสำนักได้ดีเท่าที่ควร (ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่สำนักจำเป็นต้องประเมินตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพที่ศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด) ดังนั้น มหาวิทยาลัยโดยศูนย์ประสานงานการประกันคุณฯ ควรพิจารณากำหนดตัวบ่งชี้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสำนัก รวมทั้งสำนักเองควรพิจารณาเลือกใช้ต้วบ่งชี้ที่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ เพื่อให้การประเมินสามารถสะท้อนถึงคุณภาพของการดำเนินงานที่แท้จริงของสำนัก
2.แจ้งตัวบ่งชี้ในรอบการประเมินให้หน่วยงานทราบล่วงหน้านานพอที่จะให้หน่วยงานมีเวลาพัฒนางานได้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการประเมินตามตัวบ่งชี้ดังกล่าว
3.จัดสรรงบประมาณในการจัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อการประกันคุณภาพ โดยเชื่อมโยงข้อมูลของมหาวิทยาลัยกับสำนัก/สาขาวิชา/หน่วยงานต่างๆ
4.ไม่ควรนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2550 ไปเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาผลงาน/ความดีความชอบของหน่วยงาน เนื่องจาก ในปีดังกล่าวมีการปรับตัวบ่งชี้ภายหลังที่ได้รับการดำเนินงานไปแล้ว หน่วยงานไม่สามารถหาหลักฐานการดำเนินงานได้สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมิน
5.ในการบริหารสำนัก ควรมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสำนัก (บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย) ร่วมเป็นกรรมการด้วย เพื่อให้ทิศทางและแนวทางในการพัฒนางานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6.มหาวิทยาลัยควรเร่งสร้างความชัดเจนในการกำหนดสถานะและบทบาทของสำนักที่มีต่อมหาวิทยาลัย การปรับโครงสร้างของสำนักเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานของสำนัก และเพื่อสร้างโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพเพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน และเพื่อธำรงขวัญและกำลังใจของบุคลากรสืบไป
กลับขึ้นด้านบน

ผลการประเมินประจำปี   2549  |  2550  |  2551  |  2552 | 2553 | 2554



จัดทำโดย
สำนักวิชาการ และ คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537