หน้าแรกสำนักวิชาการ  |  หน้าแรกมสธ.

 

ยินดีต้อนรับ

 
   

 

 

 

 

 

ผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2552
  การประเมินตนเองของสำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นการประเมินผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2552
เพื่อให้สะท้อนคุณภาพการดำเนินงานจริง ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินตนเองครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลด้านการจัดการเรียนการสอน
ใช้รอบเวลาตามปีการศึกษา 2552 (1 กรกฎาคม 2552 - 30 มิถุนายน 2553) และข้อมูลด้านการบริหารจัดการ ใช้รอบเวลาตาม
ปีงบประมาณ 2552(1 ตุลาคม 2551 - 30 กันยายน 2552) โดยอิงเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นหลัก นอกจากนี้สำนักวิชาการยังใช้วงจรคุณภาพในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
ของสำนัก ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ (Plan-Do-Check-Action)
ซึ่งสำนักวิชาการได้รับการประเมินระหว่างวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2553 การประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา
ตามองค์ประกอบตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพ ประจำปีการศึกษา 2552 จากคณะผู้ประเมิน ดังนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสริน สุทองหล่อ
(อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์ชุษณะ รุ่งปัจฉิม
(อาจารย์ประจำสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

กรรมการ
นางอมรา พินิจไพฑรูย์
(หัวหน้างานนโยบายและยุทธศาสตร์)
กองแผนงาน

กรรมการและเลขานุการ
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสำนักวิชาการตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และตามเกณฑ์มาตรฐาน
ในองค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบที่ 7 และองค์ประกอบที่ 9 ดังนี้
ปิดการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะทั้งหมดl | เปิดการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะทั้งหมด
องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีการกําหนดปรัชญาหรือปณิธาน ตลอดจนมีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ แผนดําเนินงาน
และมีการกําหนดตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสําเร็จของการดําเนินงานตามแผนให้ครบทุกภารกิจ (สกอ. 1.1 และ สมศ. 5.3)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3 )
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 1.1
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้หลักของการปฏิบัติงานที่กําหนด (สกอ. 1.2, ก.พ.ร. 3.2 และ 3.3)
(ผลการประเมินตนเอง 2 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 2) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 1.2
  การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และทิศทางในอนาคต
จุดแข็ง
1
มีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้
อย่างเป็นระบบ รอบ 6 เดือน รอบ 9 เดือนและรอบ 12 เดือน
2
มีการนำผลการดำเนินงานมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
จุดที่ควรพัฒนา
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ของ
การปฏิบัติงานที่กำหนด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 สำนักวิชาการ ดำเนินการไม่บรรลุเป้าหมาย 5 ตัวชี้วัด คือ
1
จำนวนโครงการกิตติเมธีที่ได้รับการสนับสนุน
2 จำนวนผลงานที่ได้รับการเผยแพร่
3 จำนวนทุนการศึกษาสมทบ ณ ต่างประเทศ
4 จำนวนโครงการที่ขอรับทุนกองทุน มสธ. 12 ปี
5 จำนวนผลงานบทความวิชาการ/ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์
เผยแพร่ใน e-Journal ของ Open University
ในต่างประเทศ
  เป็นกิจกรรมที่สำนักวิชาการไม่สามารถดำเนินการได้ตามลำพัง
เนื่องจากมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนทุนการศึกษาสมทบ ณ
ต่างประเทศ ถ้าไม่มีคณาจารย์ขอรับทุน ตัวชี้วัดนี้ก็จะไม่บรรลุเป้าหมาย
หรือ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ให้ชะลอ
โครงการเดินทางไปประชุม/สัมมนา/ศึกษาดูงานในต่างประเทศ เป็นต้น
นวัตกรรม (ถ้ามี)
มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณผ่านระบบ e-Unit budget
ทุกเดือน
แนวทางเสริมจุดแข็ง
ควรมีการเผยแพร่ให้บุคลากรภายในสำนักวิชาการได้รับทราบ
ผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
  มหาวิทยาลัยควรมีความชัดเจนและคำนึงถึงพันธกิจของหน่วยงาน
ว่าอยู่ในสถานภาพใด เช่น สำนักวิชาการเป็นหน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุน
ภารกิจของสาขาวิชา การกำหนดความรับผิดชอบในตัวบ่งชี้บางตัวควร
สะท้อภารกิจของสำนักได้อย่างแท้จริง
แนวปฏิบัติที่ดี (ถ้ามี)

-

 

 

 

 

 

 

  ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหน่วยงานในองค์ประกอบที่ 1
จุดเด่น
มีการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัดถุประสงค์ ไว้อย่างชัดเจน และมีการถ่ายทอดสู่ประชาคมทราบอย่างทั่วถึง
รวมทั้งมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสม มองเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
จุดที่ควรพัฒนา
  ควรมีการดึงผ้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เช่น อาจารย์ ศิษย์เก่า เป็นต้น มามีส่วนในการพัฒนา แผนกลยุทธ์ และแผน
การดำเนินงานให้มากขึ้น
โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
  ควรพิจารณาดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อปรับปรุงตัวบ่งชี้บางตัวที่ไม่บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งมีการเร่งรัดให้ดำเนินงาน
กิจกรรม/โครงการ ให้เสร็จสิ้นตามเป้าหมายที่วางไว้
(สกอ. 2 ตัวบ่งชี้)
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1
ผลการประเมินตนเองหน่วยงาน 2.50 ดี
(มสธ. 2 ตัวบ่งชี้)
ผลการประเมินจากคณะผู้ประเมิน 2.50 ดี

องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน

  ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (สกอ. 2.1)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 2)
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 2.1
  ตัวบ่งชี้ที่ 2.12.3 ร้อยละของหลักสูตรที่ได้มาตรฐานต่อหลักสูตรทั้งหมด (สกอ. 2.1(6), สมศ 6.1 และ ก.พ.ร. 22)
(ผลการประเมินตนเอง 1 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 1)
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 2.12.3
  ตัวบ่งชี้ที่ 2.12.4 ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
(สมศ. 6.7)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 2.12.4
  การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และทิศทางในอนาคต
จุดแข็ง
1
มีระบบและกลไกในการเปิดและปิดหลักสูตรที่ชัดเจนและมีการ
เผยแพร่ข้อมูลให้สาขาวิชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบในระบบ
Intranet ของมหาวิทยาลัย
2
มีหน่วยสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
เพื่อช่วยกลั่นกรอง ตรวจสอบ ประสานงานให้การพัฒนา/ปรับปรุง
หลักสูตรรวดเร็วและผ่านการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยและ
การรับทราบของ สกอ.
จุดที่ควรพัฒนา
1
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับสำนักวิชาการเพียงข้อเดียว
ในเรื่องระบบและกลไกการเปิดและปิดหลักสูตร ส่วนข้อ 2 - 7 เป็น
การดำเนินงานของสาขาวิชา ควรให้สำนักวิชาการจัดทำข้อมูลกลาง
ทั้งระบบของมหาวิทยาลัยทำให้ขาดข้อมูลในเชิงลึกของแต่ละสาขา
วิชา ซึ่งอาจเป็นจุดอ่อนในการประกันคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย
2
ตัวชี้วัดที่ 2.12.3 เป็นผลจากการดำเนินงานของสาขาวิชา ซึ่งไม่ตรง
กับภารกิจการสนับสนุนของสำนักวิชาการ เนื่องจากมีการปรับปรุง
หลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานและ สกอ. รับทราบแล้ว 54 หลักสูตร
แต่สาขาวิชายังไม่เปิดสอน/ปิดหลักสูตร เป็นต้น
นวัตกรรม (ถ้ามี)
มีการจัดทำ Template มคอ.2 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
อุดมศึกษาให้เหมาะสมกับระบบการศึกษาทางไกล
แนวทางเสริมจุดแข็ง
ควรมีการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา/ปรับปรุง
และบริหารหลักสูตรแก่บุคลากรสายสนับสนุนทั้งบุคลากรของฝ่ายพัฒนา
หลักสูตรฯ และหน่วยเลขานุการกิจสาขาวิชา เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
  มหาวิทยาลัยควรปรับปรุงตัวชี้วัดให้ตรงกับภารกิจการส่งเสริม
สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักวิชาการ ซึ่งจะสะท้อนคุณภาพการดำเนิน
งานที่แท้จริงมากกว่า
แนวปฏิบัติที่ดี (ถ้ามี)

-

 

 

  ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหน่วยงานในองค์ประกอบที่ 2
จุดเด่น
หน่วยงานมีระบบและกลไกในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงมีการจัดทำคำสั่งในการบริหารหลักสูตร เช่น การยุบรวม
หรือปิดหลักสูตรไว้อย่างชัดเจน ทำให้มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่กำกับดูแลภายนอก (สกอ.) อย่างต่อเนื่อง
จุดที่ควรพัฒนา
  ควรเร่งรัดดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากลไกการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้ครบทุกหลักสูตร
ภายในปีที่กำหนด
โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
1.
สำนักควรระบุ บทบาทของการมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดหลักสูตรใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น
ไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ให้ปรากฎเห็นชัดเจน (ในตัวบ่งชี้ที่ 2.12.3 เกณฑ์มาตรฐานข้อ 3) เช่น การแจ้งเวียนเอกสารเกี่ยวกับ
แนวทางในการปรับและพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์ใหม่ที่ สกอ. กำหนด การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมการในการพัฒนา
หลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานให้กับบุคลากร ทั้งสายสนับสนุนและอาจารย์ประจำหลักสูตรของแต่ละสาขาวิชา เป็นต้น
2

ควรนำแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมประสบการณ์วิชาชีพมาใช้เป็นแนวทางในการปรับและพัฒนาการเตรียม

การด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้อยู่ในเกณฑ์ที่สูงขึ้น
(สกอ. 2 ตัวบ่งชี้)
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2
ผลการประเมินตนเองหน่วยงาน 2.33 ดี
(มสธ. 3 ตัวบ่งชี้)
ผลการประเมินจากคณะผู้ประเมิน 2.00 ยังไม่ได้คุณภาพ

องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ

  ตัวบ่งชี้ที่ 7. 2 ภาวะผู้นําของผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน (สกอ. 7.2)
(ประเมินภาพรวมในระดับมหาวิทยาลัย และใช้ผลการประเมินของมหาวิทยาลัยเป็นผลการประเมินของหน่วยงาน)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.2
ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 มีการพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้ (สกอ. 7.3, สมศ. 5.2 และ ก.พ.ร. 15)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3)
เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.3
ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาและธํารงรักษาไว้ให้บุคลากรมีคุณภาพ
และประสิทธิภาพ (สกอ. 7.4)
(ประเมินภาพรวมในระดับมหาวิทยาลัย และใช้ผลการประเมินของมหาวิทยาลัยเป็นผลการประเมินของหน่วยงาน)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3 ) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.4
ตัวบ่งชี้ที่ 7.8 มีการนําระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษา (สกอ. 7.8)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.8
ตัวบ่งชี้ที่ 7.9 มีระดับความสําเร็จของการถ่ายทอดตัวบ่งชี้และเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล (สกอ. 7.9)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3 ) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.9
ตัวบ่งชี้ที่ 7.9.2 ร้อยละของบุคลากรประจำสายสนับสนุนที่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในวิชาชีพทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ (สมศ. 5.11)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3 ) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.9.2
การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และทิศทางในอนาคต
จุดแข็ง
-
จุดที่ควรพัฒนา
มหาวิทยาลัยควรมีระบบการสร้างแรงจูงใจที่ชัดเจน
 
นวัตกรรม (ถ้ามี)
-
แนวทางเสริมจุดแข็ง
-
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
  ตั้งคณะทำงานจากบุคลากรหลายกลุ่ม เพื่อมีส่วนร่วม
ในการสร้างระบบการสร้างแรงจูงใจ
แนวปฏิบัติที่ดี (ถ้ามี)
-
องค์ประกอบที่ 7 ไม่มีข้อเสนอแนะ
(สกอ. 5 ตัวบ่งชี้)
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 7
ผลการประเมินตนเองหน่วยงาน 3 ดีมาก
(มสธ. 6 ตัวบ่งชี้)
ผลการประเมินจากคณะผู้ประเมิน 3 ดีมาก

องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

  ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา
(สกอ. 9.1 และ สมศ. 7.1)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3 ) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 9.1
  ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 ระดับความสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (สกอ. 9.3, สมศ. 7.2 และ ก.พ.ร. 7)
(ผลการประเมินตนเอง 3 , ผลการประเมินของคณะผู้ประเมิน 3 ) เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 9.3
การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และทิศทางในอนาคต
จุดแข็ง
1.
มีขั้นตอนการดำเนินงานในการประกันคุณภาพที่สัมพันธ์
  และเชื่อมโยงกัน
2.
มีการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
3.
มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนางาน
  อย่างเป็นรูปธรรม
จุดที่ควรพัฒนา
มหาวิทยาลัยควรมีระบบการสร้างแรงจูงใจที่ชัดเจน
 
นวัตกรรม (ถ้ามี)
-
แนวทางเสริมจุดแข็ง
ควรมีแผนพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักวิชาการ
 
 
 
 
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
  ควรให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการประกัน
คุณภาพมากขึ้น
แนวปฏิบัติที่ดี (ถ้ามี)
-
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหน่วยงานในองค์ประกอบที่ 9
จุดเด่น
สำนักฯ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมีผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่น
ในการพัฒนาสำนักฯ ให้เจริญรุดหน้า
จุดที่ควรพัฒนา
1.
สำนักฯ อ้างถึงการใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) ในการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก โดยมีการแสดงไว้ชัดเจนในเอกสาร
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2552 แต่หลักฐานที่เป็นรูปธรรม ที่แสดงถึงการนำวงจรดังกล่าวมาใช้ยังไม่
ปรากฎ สำนักฯ ควรพิจารณาจัดทำรายงานที่แสดงถึงการใช้วงจร (PDCA) ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งจะสะท้อนผลการ
ดำเนินงานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสำนักฯ ได้ดี
2.
ในแง่ของการสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพ พบว่าในด้านเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภายใน พอมองเห็นได้ แต่ในระหว่าง
ภายนอกหน่วยงานยังไม่ชัดเจน สำนักฯ ระบุมีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ร่วมกันกับหน่วยงานที่เคยไปศึกษา
ดูงานด้านการประกันคุณภาพ ซึ่งมีลักษณะของการพัฒนาความเป็นเครือข่ายในเบื้องต้น แต่หลักฐานดังกล่าวไม่ปรากฎ สำนักฯ
ควรพิจารณาการรวบรวมผลการดำเนินงานดังกล่าวเป็นหลักฐานเพื่อการอ้างอิงเพิ่มขึ้น
โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
1.
สำนักฯ มีการจัดทำ Strategy Map ที่ชัดเจน สามารถมองเห็นภารกิจต่างๆ ของสำนักในภาพรวม รวมถึงสามารถมองเห็น
ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น Strategy Map จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการที่สำนักฯ จะผลักดัน
ระบบประกันคุณภาพของสำนัฯ (โดยเฉพาะการกำหนดตัวบ่งชี้ที่สะท้อนความเป็นสำนักวิชาการที่แท้จริง) ที่สามารถสะท้อน
ภารกิจและอัตลักษณ์ของสำนักฯ ในฐานะที่เป็นหน่วยสนับสนุนทางวิชาการที่เข้มแข็งและมีคุณภาพอย่างแท้จริง
2

ภารกิจของสำนักหลายส่วนยังมีช่องทางที่จะพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อการสนับสนุนงานวิชาการได้มากกว่านี้ เช่น ฝ่ายตำรา
ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ รวมทั้งฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักฯ ควรพิาจารณาสร้างกลไกที่จะมาช่วยให้เกิดการพัฒนา
ศักยภาพดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม

(สกอ. 2 ตัวบ่งชี้)
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 9
ผลการประเมินตนเองหน่วยงาน 3 ดีมาก
(มสธ. 2 ตัวบ่งชี้)
ผลการประเมินจากคณะผู้ประเมิน 3 ดีมาก
(สกอ. 10 ตัวบ่งชี้)
เฉลี่ยคะแนนตัวบ่งชี้รวม
ผลการประเมินตนเองหน่วยงาน 2.73 ดีมาก
(มสธ. 13 ตัวบ่งชี้)
ผลการประเมินจากคณะผู้ประเมิน 2.80 ดีมาก
  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะผู้ประเมิน
1 การนำข้อเสนอแนะจากคณะผู้ประเมินในปีที่ผ่านมา (ปีการศึกษา 2551) มาพัฒนา/ปรับปรุง
1.1
มีการนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินฯ ไปจัดทำร่าง แบบประเมินภาวะผู้นำ ซึ่งคาดว่าจะมีการนำมาใช้จริงในปี 2554 ถือว่าเป็นจุดเด่นในเรื่อง
การบริหารจัดการของสำนัก
7.1.2
มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553 2557) ของสำนัก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ ถือว่าเป็นการพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการ
ของสำนัก
2 ข้อเสนอแนะอื่นๆ ในภาพรวม
2.1
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพของสำนักฯ มีหลายส่วนที่เป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เป็นของห่วยงานอื่นและของมหาวิทยาลัย (เนื่องจาก
เป็นการกำหนดมาจากส่วนกลาง คือ ศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา) จึงส่งผลทำให้รายงานการประเมินตนเองของสำนักฯ ไม่อาจสะท้อน
คุณภาพที่แท้จริงของการดำเนินงานของสำนักได้ดีพอ รวมทั้งยังส่งผลกระทบทำให้การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติ
ราชการที่ไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงและภารกิจที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของสำนักได้ทั้งหมด ดังนั้น สำนักฯ ควรพิจารณาที่จะใช้ประโยชน์จากแผนที่
ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพที่แท้จริงของสำนักฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นตัวบ่งชี้ที่มุ่งเน้น "support & service" ที่สำนักฯ กำหนดเป็น
วิสัยทัศน์ของตนเอง
2.2
มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษาควรพิจารณา กำหนดแนวทางในการประเมินคุณภาพภายในที่ช่วยให้หน่วยงาน
สนับสนุนของมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสในการสร้างระบบคุณภาพของแต่ละหน่วยงานที่เหมาะสมมากกว่านี้ การกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้
คุณภาพจากส่วนกลาง (โดยศูนย์ประสานงานการประกันกคุณภาพฯ) ให้กับหน่วยงานสนับสนุนเช่นนี้ อาจช่วยให้มหาวิทยาลัยมีข้อมกูลสนับสนุนสำหรับ
การเตรียมความพร้อมในการรับประเมินคุณภาพภายในระดับสถาบันและการประเมินคุณภาพภายนอก แต่อีกด้านหนึ่งกลับจะส่งผลให้หน่วยงานสนับสนุน
ไม่อาจพัฒนาคุณภาพตามภารกิจที่แท้จริงขอตนเองได้
2.3
มหาวิทยาลัยควรกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้สำนักทำหน้าที่เป็นองค์การที่เป็นเลิศในการสนับสนุนงานวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยการ
ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ความมีศักดิ์ศรี ตลอดจนความเป็นมืออาชีพของบุคลากร ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
//

ย้อนกลับ

จัดทำโดย
สำนักวิชาการ และ คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537