![]() |
![]() |
|
หน้าแรกสำนักวิชาการ | หน้าแรกมสธ. |
ผลการประเมินตนเอง | |
ผลการประเมินตนเองของสำนักวิชาการ เป็นการประเมินตนเองสำหรับการดำเนินงานในปีการศึกษา 2549 โดยเปรียบเทียบกับผลการประเมินตนเองระดับมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2546 ซึ่งเป็นข้อมูลเพื่อรับการประเมินคุณภาพ ภายนอกจาก สมศ. รอบแรก เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ สำหรับข้อมูลที่แสดงในการประเมินตนเองครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูล ด้านการจัดการเรียนการสอน ใช้รอบเวลาตามปีการศึกษา 2549 เป็นหลัก (1 กรกฎาคม 2549 - 30 มิถุนายน 2550) และข้อมูล ด้านการบริหารจัดการ ใช้รอบเวลาตามปีงบประมาณ 2550 เป็นหลัก (1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2550) มีผลการประเมินตนเอง ตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ในมาตรฐานที่ 5 มาตรฐานที่ 6 และมาตรฐานที่ 7 ดังนี้ | |
มาตรฐานที่ 5 : ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร | |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
: มีการกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ ...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 : มีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์/แผนดําเนินงาน/แผนปฏิบัติการประจำปีและมีการกําหนดตัวบ่งชี้หลักเพื่อวัดความสําเร็จของการดําเนินงานตามแผนให้ครบทุกภารกิจ ...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 : มีการกำหนดแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 : การใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมกัน ...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 5.5 : ระดับคุณภาพของคณะกรรมการประจำสาขาวิชา/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์ ...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 5.6 : มีการพัฒนาหน่วยงานสู่องค์การเรียนรู้ โดยอาศัยผลการประเมินจากภายในและภายนอก ...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 5.7 : มีการนําระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้นกระบวนการบริหาร ...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 5.8 : ร้อยละการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้หลักของการปฏิบัติงานที่กําหนด ...รายละเอียดเพิ่มเติม |
|
มาตรฐานที่ 6 : ด้านการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน | |
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 : มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ...รายละเอียดเพิ่มเติม | |
มาตรฐานที่ 7 : ด้านระบบการประกันคุณภาพ | |
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1
: มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
...รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 : ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน ...รายละเอียดเพิ่มเติม |
|
กลับขึ้นด้านบน |
ผลการประเมินจากคณะผู้ประเมิน | |
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหน่วยงานสนับสนุนของสำนักวิชาการ
เป็นการประเมินการดำเนินงานในปีการศึกษา 2549 เมื่อวันที่ 12 - 13 ธันวาคม
2550 โดยมีคณะผู้ประเิมินคุณภาพภายใน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล ประธานคณะผู้ประเมิน 2. รองศาสตราจารย์สัจจา บรรจงศิริ ผู้ประเมิน 3. นายสุชาติ ใจสุภาพ ผู้ประเมินและเลขานุการ สำหรับข้อมูลที่แสดงในการประเมินฯ ครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลด้านการจัดการเรียนการสอนใช้รอบเวลา ตามปีการศึกษา 2549 เป็นหลัก (1 กรกฎาคม 2549 - 30 มิถุนายน 2550) และข้อมูลด้านการบริหารจัดการ ใช้รอบเวลาตามปีงบประมาณ 2550 เป็นหลัก (1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2550) มีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ในมาตรฐานที่ 5 มาตรฐานที่ 6 และมาตรฐานที่ 7 ดังนี้ี้ |
|
มาตรฐานที่ 5 : ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร | |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 : มีการกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ (5,5) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 5 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 5 |
เหตุผลในการตัดสิน : | ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและมีเอกสารหลักฐานประกอบครบตามเกณฑ์มาตรฐาน |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | มีการนำผลการประเมินจากปีงบประมาณ 2549 มาปรับ วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนขึ้นสอดคล้องกับภารกิจของสำนัก จากการสัมภาษณ์พบว่ามีการเผยแพร่ในเว็บไซด์ของสำนักด้วย |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 : มีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์/แผนดําเนินงาน/แผนปฏิบัติการประจำปีและมีการกําหนดตัวบ่งชี้หลักเพื่อวัดความสําเร็จของการดําเนินงานตามแผนให้ครบทุกภารกิจ (2,4) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 2 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 4 |
เหตุผลในการตัดสิน : | ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและมีเอกสารหลักฐานประกอบครบตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ใหม่ในปีงบประมาณ 2550 ผลการประเมินเป็นไปตามเป้าหมายของแผน สถาบัน และมีการคำนวณจากสูตร y = mx + c ปรับเทียบคะแนน ดังนั้นผลการประเมินของกรรมการจึงเท่ากับ 4 |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | มีการดำเนินงานตามแผนและมีการประเมินผลกิจกรรม/โครงการต่างๆ ที่สำนักจัดขึ้น |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | น่าจะมีการประเมินการดำเนินงานในกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องและนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมหรือโครงการที่จัดขึ้น |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 : มีการกำหนดแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (5,5) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 5 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 5 |
เหตุผลในการตัดสิน : | เอกสารในแฟ้มข้อมูล 5.3.4 ไม่ระบุให้ชัดเจนว่ารายงานการประชุมครั้งใดวันใดที่มีการพิจารณาแผนกลยุทธ์กับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย จากการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานพบว่าได้มีการพิจารณาความเชื่อมโยงของแผนดังกล่าว |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | มีการระดมความคิดในการจัดทำแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีร่วมกันจากทุกหน่วยงานของสำนัก |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | - ควรจะมีการกำหนดคณะกรรมการ/คณะทำงานเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์/
แผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติประจำปีของสำนักที่ชัดเจน - ควรจะมีข้อมูลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์กับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 : การใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมกัน (1,1) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 1 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 1 |
เหตุผลในการตัดสิน : | หลักฐานการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของตัวบ่งชี้นี้ แต่เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ใหม่ จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่พบว่ามีการดำเนินการในรูปของกรรมการบริหารสำนักวิชาการ |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | มีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย และภายนอกมหาวิทยาลัยในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | น่าจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยและมีการจัดทำแผนการใช้ทรัพยากรร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.5 : ระดับคุณภาพของคณะกรรมการประจำสาขาวิชา/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์ (1,1) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 1 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 1 |
เหตุผลในการตัดสิน : | หลักฐานการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของตัวบ่งชี้นี้ |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | มีคณะกรรมการประจำสำนักตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานตามภารกิจของสำนัก |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | น่าจะปรับโครงสร้างของคณะทำงาน/คณะกรรมการต่างๆ ที่มีองค์ประกอบเดียวกับคณะกรรมการประจำสำนักให้เป็นคณะกรรมการชุดเดียวกัน เพื่อให้สามารถวางแผนการประชุมได้ชัดเจนเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของตัวบ่งชี้นี้ |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.6 : มีการพัฒนาหน่วยงานสู่องค์การเรียนรู้ โดยอาศัยผลการประเมินจากภายในและภายนอก (5,5) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 5 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 5 |
เหตุผลในการตัดสิน : | ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและมีเอกสารหลักฐานประกอบครบตามเกณฑ์มาตรฐาน |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.7 : มีการนําระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้นกระบวนการบริหาร (1,1) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 1 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 1 |
เหตุผลในการตัดสิน : | หลักฐานการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของตัวบ่งชี้นี้ |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | มีการนำระบบควบคุมภายในมาใช้ในการบริหารจัดการของสำนักในเรื่องเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณการจัดซื้อ/จัดจ้าง/จัดซ่อม เนื่องจากตัวบ่งชี้นี้เป็นตัวบ่งชี้ใหม่ที่กำหนดในปีงบประมาณ 2550 |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | น่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยงในรูปของคำสั่งแทนที่จะเป็นประกาศ |
ตัวบ่งชี้ที่ 5.8 : ร้อยละการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้หลักของการปฏิบัติงานที่กําหนด (5,5) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 5 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 5 |
เหตุผลในการตัดสิน : | ผลการดำเนินเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและมีเอกสารหลักฐานประกอบครบตามเกณฑ์มาตรฐาน |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | บางตัวบ่งชี้มีการบรรลุผลเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | ควรพยายามปรับปรุงผลการดำเนินงานในตัวบ่งชี้บางตัวที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ |
รวมผลประเมินระดับมาตรฐานของมาตรฐานที่ 5 : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 3.67 | ผลการประเมินของกรรมการ = 3.93 | |
กลับขึ้นด้านบน | |
มาตรฐานที่ 6 : ด้านการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน | |
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 : มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (5,5) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 5 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 5 |
เหตุผลในการตัดสิน : | ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และมีเอกสารหลักฐานประกอบครบทุกเกณฑ์มาตรฐาน |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | มีระบบในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรที่ดี แต่กลไกผลักดันให้มีีการพัฒนาบริหารหลักสูตร น่าจะได้มีการหาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | - ควรจะได้มีการพิจารณาถึงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรจาก
สกอ.ให้สอดคล้องเหมาะสมกับระบบการศึกษาทางไกลของ มสธ. แล้วแจ้งให้ สกอ. พิจารณาปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน - น่าจะมีการจัดทำฐานข้อมูลของหลักสูตรต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารติดตามความก้าวหน้าของแต่ละหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน - การเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดสอนหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร น่าจะได้พิจารณาว่าต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องใดบ้าง เพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางให้เกิดความพร้อม เช่น ด้านบุคลากร ด้านเอกสารการสอน ตำราต่าง ๆ สถานที่ งบประมาณ การสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ - ควรนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานทุกหลักสูตรแจ้งให้สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป - การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการทุกหลักสูตร ควรจะได้มีการสำรวจในประเด็นต่าง ๆ เช่น การเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการจบการศึกษา การมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ความพึงพอใจของนายจ้างหรือหน่วยงาน คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละหลักสูตรที่หน่วยงาน หรือนายจ้างต้องการและเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสม |
รวมผลประเมินระดับมาตรฐานของมาตรฐานที่ 6 : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 5 | ผลการประเมินของกรรมการ = 5 | |
กลับขึ้นด้านบน | |
มาตรฐานที่ 7 : ด้านระบบการประกันคุณภาพ | |
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 : มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (5,5) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 5 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 5 |
เหตุผลในการตัดสิน : | ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และมีเอกสารหลักฐานประกอบครบตามเกณฑ์มาตรฐาน |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | - |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | ควรเพิ่มรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักในเว็บเพจของสำนักให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของบุคลากรสำนัก บุคลากรมหาวิทยาลัย และผู้สนใจทั่วไป |
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 : ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน (5,5) | |
ผลการประเมินตนเอง : | 5 |
ผลการประเมินของกรรมการ : | 5 |
เหตุผลในการตัดสิน : | ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และมีเอกสารหลักฐานประกอบครบตามเกณฑ์มาตรฐาน |
จุดแข็งและแนวทางเสริม : | - |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา : | ควรเพิ่มรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักในเว็บเพจของสำนักให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของบุคลากรสำนัก บุคลากรมหาวิทยาลัย และผู้สนใจทั่วไป |
รวมผลประเมินระดับมาตรฐานของมาตรฐานที่ 7 : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 5 | ผลการประเมินของกรรมการ = 5 | |
กลับขึ้นด้านบน | |
ผลการประเมินรวม : ผลกา่ีรประเมินตนเอง = 4.46 | ผลการประเมินของกรรมการ = 4.56 |
จัดทำโดย
สำนักวิชาการ และ คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 |